Page 22 - kpi11890
P. 22
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
10
วันนี้การกระจายอำนาจยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและยังไม่เสร็จสิ้น หลายภารกิจ
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
นอกจากนั้นในระบบการบริหารงานภาครัฐสมัยใหม่มีการมอบอำนาจ
บริการบางอย่างให้กับหน่วยงานภาครัฐที่มิใช่ส่วนราชการ อาทิ เช่น บริการของ
รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ดังนั้น การดำเนินแก้ปัญหาหนึ่งๆ หรือพัฒนา
ประเด็นใดประเด็นหนึ่งอาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานในภาครัฐจำนวนมาก ภาพการ
จัดบริการสาธารณะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น เมื่อพิจารณาถึงการเพิ่มบทบาทของ
ภาคธุรกิจเอกชนในการจัดบริการสาธารณะและการเกิดขึ้นขององค์กรพัฒนา
เอกชน กลุ่มประชาสังคมและกลุ่มชุมชนต่างๆ ที่มีการรวมกลุ่มและเข้ามาสนใจใน
การจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนเช่นกัน ด้วยสถานการณ์การจัดบริการ
สาธารณะดังกล่าว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะตัวแสดงหนึ่งจำเป็นต้อง
เชื่อมโยงหรือแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาหรือ
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาให้บรรลุผล
ประการที่สอง ข้อจำกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านงบประมาณ
และบุคลากร (Limitation of budget and personnel): นอกจากองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการประเด็นปัญหาหรือประเด็น
พัฒนาอย่างมีบูรณาการ ยังพบอีกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมาก
มากกว่า 60 % เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งด้าน
บุคลากรทั้งในด้านจำนวนและทักษะของบุคลากร รวมทั้งมีข้อจำกัดของ
งบประมาณ ดังนั้นเมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการพัฒนาหรือแก้ปัญหาให้
ประชาชนซึ่งเกินศักยภาพทั้งด้านการคลังและงบประมาณและบุคลากร การสร้าง
เครือข่ายกับภาคส่วนอื่นๆ อาจเป็นทางออกทางหนึ่ง อาทิ เช่น การสร้างเครือข่าย
กับอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อขับเคลื่อนสุขภาพในชุมชน เป็นต้น หรืออาจเป็น
ลักษณะของความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น การให้สัมปทานกับภาคเอกชนในการ
จัดบริการที่ต้องลงทุนสูงเป็นต้น