Page 26 - kpi11890
P. 26
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1
1)
การออกแบบเครือข่าย: การออกแบบเครือข่ายมีความสำคัญมาก
เพราะเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมาย การ
เลือกหุ้นส่วนที่เหมาะสม การจัดประเภทและเลือกใช้งานเครือข่ายให้
เหมาะสม รวมทั้งการกำหนดผู้รับผิดชอบการบูรณาการเครือข่าย
2) การบรูณาการเข้าด้วยกัน: หลังจากออกแบบแล้วเข้าสู่ช่วงการดำเนินการ
ประเด็นที่สำคัญ คือ การบูรณาการทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน การสร้าง
ช่องทางสื่อสาร รวมทั้งการประสานกิจกรรมระหว่างผู้มีส่วนร่วมของ
เครือข่าย นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องมีการจัดการความสัมพันธ์ภายใน
เครือข่าย และการต้องคำนึงถึงการจัดการความแตกต่างทางด้าน
ค่านิยมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่ากลุ่ม/องค์กรในเครือข่าย
3)
การกำกับดูแลเครือข่าย: ความยากประการหนึ่งของการบริหาร
เครือข่าย คือ การมีระบบการกำกับดูแล ซึ่งย่อมต้องแตกต่างจาก
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ระบบกำกับดูแลภายใต้ตัวแบบระบบราชการ ขณะเดียวกันด้วย
ลักษณะเครือข่าย แต่ละกลุ่ม/องค์กรย่อมมีความอิสระของตนเอง
ดังนั้นความท้าทายคือ การออกแบบระบบกำกับดูแลที่สามารถให้
แต่ละองค์กรใช้ความอิสระของตนให้เป็นประโยชน์แต่ขณะเดียวกัน
ก็มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน
4)
การพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถของบุคลากร: ประเด็น
สุดท้าย คือ การพัฒนาบุคลากร ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
รวมทั้งพัฒนาทักษะใหม่ที่เหมาะสมกับการบริหารเครือข่าย อาทิ เช่น
การเจรจาประนีประนอม และการเป็นนักประสานงาน เป็นต้น
Paul Starkey เสนอแนวทางการเสริมสร้างเครือข่าย ดังนี้
1) เชิญองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมประชุมกัน โดยมีหัวข้อ
ประชุมเกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมหรือเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้อง