Page 21 - kpi11890
P. 21
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
บริหารส่วนตำบลมีถึง 31 หน้าที่ หากแต่ในทางปฏิบัติ หน้าที่ส่วนใหญ่มีลักษณะ
เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ร่วมกัน หรือเชื่อมโยงระหว่างส่วนราชการทั้งส่วนกลาง
ภูมิภาค รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน ยกตัวอย่างเช่น ในการพัฒนาท้องถิ่น
ชุมชนต้องมีไฟฟ้าและน้ำประปา ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้รับผิดชอบ
จัดบริการเหล่านี้ เป็นเรื่องของรัฐวิสาหกิจ คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและ
การประปาส่วนภูมิภาค หรือเรามักได้ยินเสมอถึงปัญหาการประสานงานใน
กรุงเทพมหานคร เพราะ กทม.ซ่อมถนน แต่พอซ่อมเสร็จ การประปาก็มาขุดวาง ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ท่อ หลายคนชอบถามว่าทำไมบูรณาการกันไม่ได้ เพราะอำนาจเรื่องประปา ไฟฟ้า
ในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวงและ
การประปานครหลวง ไม่ใช่กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับงานด้านสวัสดิการสังคม
มีหน่วยงานหลายหน่วยและหลายระดับร่วมกันรับผิดชอบ ทั้งองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดและกระทรวงพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนงานด้านสุขภาพ อยู่ในความรับผิดชอบของ
สาธารณสุขจังหวัดและกระทรวงสาธารณสุข และบางส่วนที่เกี่ยวกับอาชีพก็อยู่ใน
ความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน
มีการวิเคราะห์กันว่าสาเหตุที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดอำนาจ
หน้าที่ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาพื้นที่อย่างมีบูรณาการ เนื่องจากลักษณะ
รวมศูนย์ของรัฐไทยในอดีต ดังเห็นจากระบบบริหารราชการของประเทศเรา มีการ
บริหารราชการส่วนกลาง ซึ่งแบ่งเป็นกระทรวง กรมต่างๆ แล้ว ยังมีการบริหาร
ราชการส่วนภูมิภาค โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ซึ่งแต่ละระดับ
มีตัวแทนส่วนราชการจัดบริการให้ประชาชนในพื้นที่ตามนโยบายของต้นสังกัด
ในส่วนกลาง ถึงแม้จะมีระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ด้วย แต่ในอดีตที่ผ่านมา
บทบาทในการบริการสาธารณะมีอยู่น้อยมาก การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทในการบริการสาธารณะชัดเจนจากผลของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจและ
งบประมาณจากราชการส่วนกลางและภูมิภาคสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จนถึง