Page 23 - kpi11890
P. 23
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
11
ส่วนที่สอง เครือข่ายเป็นพลังในการพัฒนาการบริการสาธารณะใหม่ๆ
และสร้างคุณค่าประชาธิปไตย
นอกจากเครือข่ายจะเป็นความจำเป็นแล้ว อาจกล่าวได้ว่า เครือข่ายเป็น
วิธีการที่ทรงพลังในการทำให้ทิศทางการพัฒนาที่ปรารถนาหรือกำหนดไว้เป็นไปได้
จริง อีกทั้งแนวทางการบริหารเครือข่ายยังสอดรับกับวิถีประชาธิปไตย รายละเอียด
ประกอบด้วย ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ประการแรก การสร้างนวัตกรรมการบริหาร (Administrative
Innovation): ในสภาพของการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่บน
ข้อจำกัดหลายประการ การสร้างเครือข่ายจะช่วยให้เห็นทางเลือกใหม่ หรือนวัตกรรม
ในการจัดบริการสาธารณะ ซึ่งถ้าดำเนินการด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพียงลำพัง อาจไม่สามารถดำเนินการได้ ตัวอย่างเช่น การสร้างเครือข่ายอาจทำให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ข้อมูลใหม่ มีเทคโนโลยีใหม่ หรืออาจมีทางเลือก
รูปแบบการให้บริการโดยองค์กรเครือข่าย เป็นต้น
ประการที่สอง การพัฒนาบริการสาธารณะที่เข้าถึงประชาชนกลุ่ม
เป้าหมายได้มากขึ้น: การสร้างเครือข่ายมีคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการสา
ธารณะใหม่ๆ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง
เพราะขาดทั้งงบประมาณและบุคลากร นอกจากนั้นการมีเครือข่ายจะช่วยในการ
ให้บริการเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็ว มากขึ้น เช่น เครือข่ายอาสา
สมัครสาธารณสุขซึ่งมีอยู่ทุกหมู่บ้าน ดังนั้นการสร้างเครือข่ายสุขภาพกับอาสมัคร
สาธารณสุขจะทำให้ประชาชนได้รับบริการ ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและอนามัย
ได้รวดเร็วขึ้น เช่นเดียวกับการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มแม่บ้านในทุกตำบลและ
หมู่บ้าน เครือข่ายเหล่านี้จะเป็นพลังมหาศาลให้การช่วยจัดบริการสาธารณะและ
ทำให้ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็ว