Page 24 - kpi11890
P. 24
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
12
ประการที่สาม การพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น: การสร้างเครือข่ายก่อให้
เกิดคุณค่าที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับ
ท้องถิ่น การสร้างเครือข่ายหมายถึงการเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน
และประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาพื้นที่ ซึ่งใน
กระบวนการของการเสริมสร้างหรือบริหารเครือข่ายจะให้ความสำคัญกับการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแบ่งหน้าที่ การสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
เป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ รวมทั้งมีกลไกรับผิดชอบซึ่งกันและกัน และประการ
สำคัญ การกำหนดเป้าหมายร่วมกันมักอยู่บนพื้นฐานของการเสวนาและฉันทามติ
ซึ่งลักษณะที่กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีประชาธิปไตย ดังนั้นการสร้างเครือข่าย
พัฒนาจะช่วยขับเคลื่อนปัญหาซึ่งเดิมเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลาย
มาเป็นปัญหาของทุกภาคส่วนและเข้าร่วมกันแก้ไข
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
เมื่อไรและสถานการณ์ใดที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรพิจารณา
ใช้การบริหารในลักษณะเครือข่าย
ดังกล่าวข้างต้น การสร้างและบริหารเครือข่ายให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่
เรื่องง่าย ดังนั้นไม่ใช่ทุกเรื่องต้องบริหารในลักษณะเครือข่าย การตัดสินใจเลือก
การบริหารโครงการและกิจกรรมในลักษณะของเครือข่ายควรมีปัจจัยสนับสนุน
บางประการ ดังนี้
1)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ
2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการจัดบริการที่แตกต่างจากเดิมหรือ
เป็นบริการใหม่ให้ประชาชน
3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการทักษะและเทคโนโลยีที่ไม่มีใน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น