Page 17 - kpi11890
P. 17
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
ความสมัครใจและได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน 2
จากมุมมองของนักพัฒนาชุมชน ดร.เสรี พงศ์พิศ มองว่า เครือข่าย คือ
ขบวนการทางสังคมอันเกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มองค์กร
สถาบัน โดยมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และความต้องการบางอย่างร่วมกัน ร่วมกัน
ดำเนินกิจกรรมบางอย่าง โดยที่สมาชิกยังคงความเป็นเอกเทศไม่ขึ้นต่อกัน 3
ในมิติการบริหารงานภาครัฐ Stephen Goldsmith และ William D. ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
Eggers ซึ่งถือว่าเป็นนักคิดคนสำคัญในการเสนอการบริหารงานภาครัฐแบบ
เครือข่าย ให้ความหมายของเครือข่ายว่าเป็น “โครงการริเริ่มต่างๆ ที่หน่วยงาน
ภาครัฐเป็นผู้ดำริให้มีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการสาธารณะ โดยสามารถ
วัดเป้าหมายของผลงานได้ มีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบให้แต่ละหุ้นส่วน
การงาน และได้กำหนดโครงสร้างการไหลของสารสนเทศไว้ เป้าหมายบั้นปลาย
ของการทุ่มเทดำเนินงานก็คือเพื่อสร้างคุณค่าสาธารณะให้เกิดขึ้นสูงสุด เป็น
คุณค่าที่ยิ่งใหญ่กว่าผลรวมจากคุณค่าของงานที่แต่ละหุ้นส่วนการงานสามารถ
ทำได้ตามลำพัง โดยปราศจากการประสานความร่วมมือ” ในความหมายนี้
4
สะท้อนให้เห็นประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก การให้ความสำคัญกับ
หน่วยงานของรัฐในฐานะผู้ริเริ่มเครือข่าย ประเด็นที่สอง คือ เครือข่ายต้องมี
เป้าหมายร่วมกัน และเป้าหมายนั้นต้องไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จด้วยฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งเพียงลำพัง และประการที่สาม เครือข่ายต้องมีการกำหนดรูปแบบความ
สัมพันธ์อย่างน้อยในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ในความคิดของนักวิชาการทั้งสอง
2 Starkey, Paul. 1997. Networking for Development. London: International
Forum for Rural Transport and Development. p. 14.
3 เสรี พงศ์พิศ.2548. เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพ:
สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
4 โกลด์สมิท, สตีเฟ่น. และ วิลเลียม ดี เอกเกอร์ส. 2552. การบริหารงานภาครัฐแบบ
เครือข่าย: มิติใหม่ภาครัฐ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท. หน้า 29-30.