Page 160 - kpi10607
P. 160
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1 1
ความสามารถในการถ่ายทอดบทเรียนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
1) การมีผู้นำที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยดูจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่การปกครอง
ของตนเอง บทเรียนที่สำคัญของการดำเนินโครงการคือ การมีแกนนำหรือบุคคลที่คิดริเริ่มสร้างสรรค์ เข้าใจถึง สถาบันพระปกเกล้า
สภาพปัญหาของพื้นที่ตนเอง ว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับวางแผนงานที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิด
ขึ้น เพราะส่วนใหญ่การดำเนินโครงการต่างๆ มักเกิดจากการคิดริเริ่มของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความ
สามารถในการนำพาบุคคลอื่นๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ โดย
เฉพาะในกรณีของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชนทั้งชุมชน ควรมีผู้ที่จะลุก
ขึ้นมาริเริ่มและจับกลุ่มเพื่อหาแนวทางในการสะท้อนปัญหาร่วมกันและหาความรู้จากบุคคลที่มีความรู้ในเชิง
เทคนิคเข้ามาช่วยสนับสนุน
2) ความร่วมมือของส่วนงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การทำงานที่กินพื้นที่กว้างอย่างกรณีของการ
ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก คนกลุ่ม
เล็กๆ คงไม่เพียงพอที่จะผลักดันให้โครงการดำเนินไปได้เท่าใดนัก จำเป็นต้องอาศัยทั้งความรู้ความสามารถ
จากกลุ่มคนเฉพาะด้าน เช่น ป่าไม้พื้นที่ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินการด้านอนุรักษ์ป่า ผู้นำชุมชน เป็นต้น
จึงทำให้การดำเนินโครงการต้องอาศัยความร่วมมือหรือการประสานงานกับบุคลากรจากภาคส่วนต่าง ๆ
โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อาศัยแหล่งทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันได้เข้ามามีส่วนร่วม สิ่งสำคัญคือ การไม่ยึดพื้นที่
การปกครองเป็นหลักที่จะอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นเข้ามาร่วมการดำเนินกิจกรรม เพราะอาจส่งผล
ต่อการเกี่ยงกันทำงานหรือการก้าวก่ายงานได้เช่นกัน
3) การชี้แจงให้ประชาชนรับรู้และผลักดันไปสู่การมีส่วนร่วม ทุกขั้นตอนการดำเนินงานในท้ายที่สุด
ของการทำให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงานคือการขอความร่วมมือ ชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชน ให้
ช่วยกันผลักดันการดำเนินงานให้เกิดเป็นผลและเกิดความยั่งยืนได้ เพราะประชาชนเป็นทั้งผู้ใช้ประโยชน์และ
ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะมีคนริเริ่มดำเนินงานก็ตาม แต่
หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำแล้ว การจะทำให้ยั่งยืนได้คือการขับเคลื่อนโดยประชาชนเองในการดูแลและอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ การเตรียมความพร้อมและยอมรับความคิดเห็นของประชาชน
จึงเป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งได้ดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
อย่างแท้จริง ทั้งนี้ จำเป็นต้องชี้แจงและทำความเข้าใจหรือประชุมปรึกษาหารือกับชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง และ
พร้อมจะยอมรับปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นที่ประชาชนอาจไม่เห็นด้วยหรือไม่ต้องการเข้าร่วม
สิ่งสำคัญคือ การเห็นความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมและความรักในชุมชนท้องถิ่นที่จะช่วยกันอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้จะทำให้การดำเนินงานและการดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ประสบผลสำเร็จได้