Page 159 - kpi10607
P. 159
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1 0 ความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ
สถาบันพระปกเกล้า สายเดียวคือ ลำน้ำแม่ตื่นที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญของชาวอมก๋อย ทำให้กลุ่มคนฮักต้นน้ำ ไม่อาจละทิ้งการดำเนิน
1) การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งต้นน้ำหลักเพียง
งานในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำไปได้ แม้ว่าจะเจออุปสรรคมากน้อยเพียงใด แต่ด้วยความอดทนและความมุ่งมั่น
ในการทำความเข้าใจกับคนจำนวนมาก ส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายกลุ่มให้
กว้างขวางยิ่งขึ้น จากคนรู้จักกันในกลุ่มเล็กๆ ของนายกเทศมนตรีตำบลอมก๋อย ขยายไปสู่ความร่วมมือระหว่าง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลอมก๋อย แม้ว่างบประมาณสนับสนุนยังคงอยู่ที่เทศบาลตำบลอมก๋อย
ก็ตาม ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ได้มีการจัดสรรงบประมาณให้กับกลุ่มคนฮักต้นน้ำที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ในโครงการอนุรักษ์ต้นน้ำ ป่าไม้ สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ จำนวน 30,000 บาท โดยให้กลุ่มคนฮักต้นน้ำเป็น
ผู้ดำเนินการ แม้ว่าต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่โครงการจะดำเนินการอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่นั่นก็สะท้อนให้
เห็นถึงว่ายังคงมีความพยายามดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
2) การสรรหาเทคนิควิธีการใหม่ๆ การลองผิดลองถูก ด้วยการหาแนวทางที่จะทำอย่างไรให้ชาวบ้าน
เข้าใจถึงความสำคัญของแหล่งน้ำสายหลัก รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิธีการในการหาทางให้ชาวบ้านลงมาอาศัยอยู่
ในพื้นล่างมากขึ้น ด้วยการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดสรรที่ทำกินให้กับชาวบ้านที่อาศัย
บนต้นน้ำได้มีที่ทำกิน พร้อมกันนี้ นายบุญเย็น ใจตา ยังได้คิดริเริ่มโครงการให้กับชาวบ้านต้นน้ำที่ไม่ลงมา
อาศัยอยู่ในพื้นล่าง ได้มีอาชีพทำกิน หรือเพาะปลูกอย่างอื่นแทนการทำไร่เลื่อนลอยหรือปลูกฝิ่น ด้วยการ
วางแผนจะจัดทำโครงการปลูกกาแฟให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณแหล่งต้นน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านทำกินได้ทั้ง
พื้นล่างและบนเขา
3) การดึงหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น สิ่งที่เห็นควบคู่ไปกับการทำงานของนายกเทศมนตรี
ตำบลอมก๋อย คือ การพยายามดึงภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วม ไม่เฉพาะแต่ประชาชนเท่านั้น แต่ยังเอา
ตัวแทนองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนโครงการ และขึ้นไปเห็นสภาพ
ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต้นน้ำร่วมกัน เช่น นายอำเภออมก๋อย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอมก๋อย ปศุสัตว์อำเภอ
ป่าไม้พื้นที่ ผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่อำเภออมก๋อย เป็นต้น ที่ได้เข้ามาร่วมประชุม
ปรึกษาหารือ ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ร่วมขบวนขึ้นเขาไปชี้แจงและบริจาคสิ่งของให้กับชาวบ้านในพื้นที่ต้นน้ำ
และยังได้มีการติดต่อประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นว่าการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำนี้เป็นหน้าที่ของ
ชาวอมก๋อยทุกคน โดยไม่แบ่งแยกพื้นที่การปกครองแต่อย่างใด
4) การบรรจุในแผนการดำเนินงานของเทศบาล แม้ว่าจะมีการดำเนินงานผ่านการอาศัยปฏิสัมพันธ์
ส่วนบุคคลเป็นหลัก แต่การจะทำให้โครงการมีความยั่งยืนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น คือ การบรรจุโครงการไว้ใน
แผนงานของเทศบาลตำบลอมก๋อย ในยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานได้รับการสนับสนุน
ทางด้านงบประมาณเข้ามาช่วยเหลือ ส่งผลให้กลุ่มคนฮักต้นน้ำสามารถดำเนินงานได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น