Page 155 - kpi10607
P. 155
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1 ความสำคัญของแหล่งต้นน้ำมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการไปแต่ละครั้งของทีมคณะชุดใหญ่มีล่ามที่ช่วยถ่ายทอด
สถาบันพระปกเกล้า ความคิดของนายกเทศมนตรีตำบลอมก๋อยที่ได้ชี้แจงทำความเข้าใจถึงความสำคัญของแหล่งต้นน้ำ ทำให้
ชาวบ้านได้รับรู้ไปพร้อมกับมอบสิ่งของต่างๆ ให้กับชาวบ้าน ได้เอาไว้ใช้อุปโภคบริโภค
9) การประชุมวิเคราะห์สภาพปัญหา การเดินทางขึ้นไปยังแหล่งต้นน้ำแม่ตื่นใช้ระยะเวลาเพียง 1 วัน
เท่านั้น คือ ไปเช้าเย็นกลับ หลังจากกลับมา จะมีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันว่า ปัญหาใน
บริเวณต้นน้ำมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และทำอย่างไรจึงจะให้ชาวบ้านบริเวณต้นน้ำได้เข้าใจถึงความสำคัญของสายน้ำ
หลักและย้ายลงมาอยู่อาศัยในบริเวณพื้นล่าง เพื่อประกอบอาชีพอื่นที่มิใช่การทำไร่เลื่อนลอย หรือการเผาป่า
เพื่อหาของป่ามาขาย
10) วางแผนการดำเนินการในครั้งต่อไป เพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำอย่างยั่งยืน ไม่เพียงแต่การวิเคราะห์สภาพ
ปัญหาที่ได้เห็นจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นบริเวณต้นน้ำแล้วเท่านั้น แต่ยังได้มีการดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อื่นที่เป็นผู้ดูแลพื้นที่อย่างแท้จริงให้เข้ามาร่วมดำเนินโครงการ โดยมีการวางแผนขึ้นไปให้ความช่วยเหลือและ
ทำความเข้าใจกับชาวบ้านบริเวณต้นน้ำครั้งต่อไป รวมถึงการสนับสนุนส่งเสริมให้แกนนำในชุมชนบริเวณต้นน้ำ
มาอบรมและทำความเข้าใจอยู่บ่อยครั้งเพื่อให้ทำหน้าที่แทนเทศบาลในการกลับขึ้นไปชี้แจงกับประชาชน
ประกอบกับได้ พยายามจัดตั้งกลุ่มคนฮักต้นน้ำแม่ตื่นที่มีนายกเทศมนตรีตำบลอมก๋อยเป็นประธาน ในปี
พ.ศ.2551 มีการร่างกฎระเบียบ กำหนดแผนงานอย่างเป็นรูปธรรม มีการประชุมระดมความคิดเห็นระหว่าง
คณะกรรมการและชาวบ้าน รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อศึกษาและสร้างเครือข่ายทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วม
ระยะเวลาการดำเนินงาน เดินทางขึ้นไปต้นน้ำแม่ตื่นปีละ 1 ครั้ง ช่วงประมาณต้นปีหรือปลายปี
ส่วนการประชุมคณะกรรมการขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนของปัญหาในพื้นที่ต้นน้ำ ประชุมโดยเฉลี่ย 1-2 เดือน/ครั้ง
ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชน
ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเริ่มจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการมาสู่
การประชุมอย่างเป็นทางการในรูปคณะกรรมการ โดยอาศัยช่องทางการให้ข้อมูลผ่านการประชุมปรึกษาหารือ
ร่วมกับประชาชนทั้งในระดับแกนนำและอาศัยเวทีประชาคมเพื่อนำประเด็นการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเข้าสู่การ
พิจารณาของที่ประชุมของชาวบ้าน หากพิจารณาในเชิงหลักการของการมีส่วนร่วมแล้ว รูปแบบการมีส่วนร่วม
หลักที่เทศบาลตำบลอมก๋อยใช้กับโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ คือ การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ
การประชาสัมพันธ์ การจัดทำวิดีทัศน์ การประชุมในรูปคณะกรรมการ การประชุมกลุ่มย่อย โดยเริ่มตั้งแต่การ
ให้ข้อมูลข่าวสาร (Inform) ให้ทั้งชาวบ้านพื้นล่างและที่อยู่บริเวณต้นน้ำให้เข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับต้นน้ำ
แม่ตื่น ซึ่งถือเป็นการสื่อสารทางเดียวของทางเทศบาลตำบลอมก๋อยและระดับแกนนำชุมชน ต่อจากนั้นจึงนำไป
สู่ขั้นตอนของการหารืออย่างไม่เป็นทางการ (Informal Consult) ในการลงพื้นที่ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความ
เห็นกับแกนนำชุมชนและผู้บริหารท้องถิ่นข้างเคียง จนนำมาสู่การเข้ามามีบทบาท (Involve) ของตัวแทนชุมชน
และหน่วยราชการในเขตพื้นที่อำเภออมก๋อย ในการเข้าร่วมกลุ่มคนฮักต้นน้ำแม่ตื่น โดยมีการประชุมอย่าง
ไม่เป็นทางการระหว่างกัน เพื่อทำให้เกิดการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ทั้งในระดับแกนนำและระดับ
ชาวบ้านได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการในการอนุรักษ์ดูแลรักษาลำน้ำแม่ตื่น ซึ่งถือเป็นกระบวนการ
มีส่วนร่วมที่สำคัญในการทำให้เกิดการตระหนักรู้ร่วมกันและเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นกับลำน้ำแม่ตื่น
ในระดับของประชาชนที่พร้อมจะเข้ามาร่วมขับเคลื่อนการทำงานกับเทศบาลตำบลอมก๋อย