Page 157 - kpi10607
P. 157
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1 2) การขอเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องไม้เครื่องมือด้วยวิธีการรับบริจาค การขอความร่วมมือหรือการ
สถาบันพระปกเกล้า บริจาคทั้งจากประชาชนในพื้นที่ และอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวของนายกเทศมนตรีกับเพื่อนพ้อง เพื่อช่วยกัน
บริจาคสิ่งของ เพราะในระยะเริ่มต้นของการดำเนินการเพื่อขึ้นไปยังแหล่งต้นน้ำแม่ตื่นจำเป็นจะต้องอาศัย
เทคนิควิธีการอย่างไม่เป็นทางการ (ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล) ที่จะเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงาน
ในโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ทั้งนี้ ทำให้ทรัพยากรที่ใช้นอกเหนือจากงบประมาณที่สนับสนุนจากเทศบาล
ในรูปของโครงการอื่นๆ ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคในรูปของการบริจาคเข้ามาสนับสนุน
การดำเนินโครงการด้วย
ผลความสำเร็จ
1) ชาวบ้านเข้าใจความสำคัญของต้นน้ำแม่ตื่นมากขึ้น ด้วยความพยายามและการดำเนินการอย่าง
ต่อเนื่องทั้งระดับแกนนำองค์กรและชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้ลงไปฝึกอบรมกับเทศบาลตำบลอมก๋อย เพื่อให้
แนวทางในการชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้านให้เห็นประโยชน์ของต้นน้ำแม่ตื่นว่าถ้าขาดน้ำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
และชาวบ้านจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด รวมถึงการขึ้นมาเยี่ยมเยียนและชี้แจงด้วยตนเองของระดับ
นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภอ และระดับหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่
อำเภออมก๋อย ทำให้ชาวบ้านค่อยๆ เริ่มเห็นความสำคัญของลำน้ำแม่ตื่นมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้น
ของความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการทำให้ประชาชนโดยเฉพาะที่อาศัยในแหล่งต้นน้ำแม่ตื่น
มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักร่วมกันในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ตื่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
2) ชาวบ้านในเขตต้นน้ำยอมย้ายมาอยู่ข้างล่าง นอกเหนือจากการเห็นความสำคัญของแหล่งน้ำมากขึ้น
แล้ว กลุ่มคนฮักต้นน้ำยังได้ร่วมกันทดลองให้ชาวบ้านที่สมัครใจอยากหาที่ทำกินใหม่ลงมาอยู่ในพื้นล่าง
ด้วยการประสานงานกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดเชียงใหม่จัดสรรพื้นที่ให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้
มีที่อยู่อาศัยในพื้นล่าง ทำให้มีชาวบ้านเริ่มสมัครใจลงมาอยู่อาศัยข้างล่างแทน และด้วยการที่ชาวบ้านที่ลงมา
อาศัยยังพื้นล่างได้ขึ้นไปบอกเล่าถึงวิถีชีวิตในพื้นล่างว่ามีความสะดวกสบายกว่าการอยู่อาศัยและทำกินบน
ต้นน้ำก็ยิ่งเป็นการช่วยกลุ่มคนฮักต้นน้ำได้อีกทางหนึ่งที่จะให้ชาวบ้านย้ายลงมาทำกินยังพื้นล่างแทนการใช้
ประโยชน์จากป่ามากเกินความจำเป็น
3) ปริมาณการตัดไม้ เผาป่า และทำไร่เลื่อนลอยลดลง แม้ว่าจะยังมีการลักลอบตัดไม้อยู่บางส่วน
ก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าเดิมในช่วงริเริ่มโครงการใหม่ๆ ทำให้ได้เห็นถึงพัฒนาการโครงการ และได้มีการส่งเสริมให้
ชาวบ้านปลูกพืชชนิดอื่นๆแทนการทำไร่เลื่อนลอย เช่น การปลูกกาแฟ เป็นต้น
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงาน
1) ภาวะผู้นำ การดำเนินโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ถือได้ว่าเป็นการริเริ่มของ นายบุญเย็น ใจตา นายก
เทศมนตรีตำบลอมก๋อย แม้ว่าจะไม่ใช่พื้นที่ในเขตปกครองของตนเอง แต่เล็งเห็นว่าสายน้ำนี้เป็นสายน้ำหลัก
ของชาวบ้านอมก๋อยทั้งหมด ดังนั้น จึงไม่เกี่ยงว่าจะต้องเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่
ดูแล และไม่สำคัญว่าจะต้องผลักภาระให้หน่วยงานใดริเริ่มก่อน จึงเดินหน้าริเริ่มโครงการด้วยตนเอง นับตั้งแต่
รับหน้าที่ในตำแหน่งนายกเทศมนตรี ทั้งนี้ ได้อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว ความสนิทสนมกับชาวบ้าน และ
ระดับแกนนำชุมชนขับเคลื่อนโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสามารถดึงนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข้างเคียงเข้ามาร่วมด้วย ประกอบกับนายบุญเย็น ใจตา ยังคงชี้แจงและเดินทางไปทำความเข้าใจด้วยตัวเอง