Page 158 - kpi10607
P. 158
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1
เพื่อให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนม และส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความต่อเนื่อง จึงได้รับการยอมรับให้เป็น
ประธานกลุ่มคนฮักต้นน้ำ พร้อมทั้งทำให้โครงการนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา จนกระทั่งเกิดคณะกรรมการที่เป็นไป
ตามระเบียบกลุ่มคนฮักป่าต้นน้ำแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 2551 สถาบันพระปกเกล้า
2) การมีส่วนร่วมของประชาชน แม้ว่าการดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นระดับแกนนำทั้งองค์กรและชุมชน
เข้ามามีส่วนร่วม แต่หากประชาชนไม่เข้ามาร่วมในการดำเนินงานหรือร่วมทำความเข้าใจและเห็นความสำคัญ
ของแหล่งต้นน้ำแม่ตื่น ก็ไม่อาจทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จและมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้ ด้วย
เหตุนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงปรากฏทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการหรือถูกกระทำผ่าน
ตัวแทนระดับแกนนำชุมชน ประกอบกับประชาชนในระดับพื้นล่างก็ได้เข้าร่วมขบวนไปกับคณะกลุ่มคน
ฮักต้นน้ำและชาวบ้านในพื้นที่ต้นน้ำก็พร้อมใจหรือยอมลงมาอาศัยอยู่พื้นล่าง เพื่อลดปัญหาการทำลายป่าต้นน้ำลง
อุปสรรคในการดำเนินโครงการและการแก้ไขปัญหา
1) อาศัยระยะเวลาในการทำความเข้าใจ เมื่อนายบุญเย็น ใจตา เข้ามารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีของ
ในปี พ.ศ.2546 ก็ได้พยายามคิดริเริ่มจัดทำโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ หลังจากที่ได้ขบคิดถึงสภาพปัญหาที่เกิด
ขึ้นกับพื้นที่อำเภออมก๋อยแล้วพบว่ามีการอาศัยทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคหรือ
เป็นแหล่งทำมาหากินจำนวนมาก จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำให้ชาวบ้านจำนวนมากที่อาศัยพื้นที่ป่าเขาในอำเภอ
อมก๋อยทำมาหากินตระหนักร่วมกันว่า เกิดปัญหาอะไรขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติของอำเภออมก๋อย อุปสรรค
ในการสื่อสารกับชาวบ้านหรือการรวมกลุ่มคณะทำงานขึ้นมาจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ต้องใช้ความอดทนและระยะ
เวลายาวนานในการทำความเข้าใจทั้งชาวบ้านที่อาศัยในพื้นล่าง หรือแม้กระทั่งชาวบ้านที่อาศัยในแหล่งต้นน้ำ
ซึ่งมีทั้งอุปสรรคทางด้านภาษา และความแตกต่างทางวัฒนธรรม
2) ขาดการมีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดความยั่งยืนจากประชาชนในพื้นที่ข้างเคียง นอกจากการทำความ
เข้าใจกับชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลอมก๋อยถือเป็นอุปสรรคประการหนึ่งแล้ว แต่สิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือ
และทำความเข้าใจมากกว่าชาวบ้านในพื้นที่เทศบาลตำบลอมก๋อยคือ ชาวบ้านในพื้นที่ข้างเคียงที่อยู่ในเขตพื้นที่
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ต้องอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลักในการชี้แจงทำความเข้าใจกับ
ระดับแกนนำชุมชนที่ได้เข้ามาร่วมจัดทำกิจกรรมกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะระดับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ที่จะดึงเข้ามาร่วมกิจกรรมและเพื่อให้ไปชี้แจงกับประชาชนในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น ในระยะเริ่มต้นของการดำเนิน
งานจึงเปรียบเสมือนการทำงานเพียงลำพังเฉพาะกลุ่มของนายบุญเย็น ใจตา ที่เดินสายทำความเข้าใจกับ
คนหลากหลายกลุ่ม จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะทำให้ประชาชนทั้งต่างพื้นที่และหลากหลายชาติพันธุ์เข้ามา
มีส่วนร่วมได้
3) การดำเนินงานยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน แม้ว่าการดำเนินงานโดยส่วนใหญ่ของโครงการอนุรักษ์ป่า
ต้นน้ำจะผ่านการทำงานของกลุ่มคนฮักต้นน้ำแม่ตื่น แต่นั่นเป็นเพียงการดำเนินงานอย่างไม่เป็นทางการ และ
อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวมากกว่า นอกจากนี้ ยังอาศัยการจัดสรรงบประมาณควบคู่ไปกับการดำเนินงาน
ในโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเพิ่ง
เป็นรูปร่างในปี พ.ศ.2551 และการนัดประชุมต่างๆ ไม่กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน ซึ่งคงต้องดูกันต่อไปหลัง
จากที่ได้มีการร่างระเบียบออกมาใช้ในการดำเนินงาน