Page 156 - kpi10607
P. 156

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                 1


                             สำหรับลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ มีวิธีการที่ทำให้เห็นแนวทาง
                       การเข้ามามีบทบาทในหลากหลายลักษณะดังนี้

                             1)  การประชุมระดมความคิดเห็น การอาศัยเทคนิควิธีการประชุมเป็นหลักในการชี้แจง ทำความเข้าใจ   สถาบันพระปกเกล้า

                       การวางแผนงาน และการปรึกษาหารือเพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่เป็นทางการหรือ
                       ไม่เป็นทางการ ล้วนต่างเกิดจากการประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกันทั้งสิ้น ทั้งการอาศัยเวทีที่ประชุมของเทศบาล
                       ตำบลอมก๋อย เพื่อใช้สถานที่ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของระดับแกนนำองค์กรและระดับชุมชน รวมถึง

                       การใช้พื้นที่ในการประชุมประชาคมตำบล เพื่อเป็นการชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ทำให้
                       ประชาชนทั้งระดับตัวแทนและการสื่อสารผ่านประชาชนโดยตรงเกิดขึ้นจากการประชุมร่วมกันเป็นหลัก

                             2)  การระดมทรัพยากร เครื่องอุปโภคบริโภค ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในระหว่างการจัดกิจกรรม

                       การขึ้นไปชี้แจงและบริจาคสิ่งของให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณต้นน้ำ ถึงแม้ว่าเครื่องอุปโภคบริโภค
                       ส่วนใหญ่เกิดจากการสรรหาของนายกเทศมนตรีตำบลอมก๋อยที่ได้จากเพื่อนพ้องก็ตาม แต่ประชาชนในพื้นที่
                       ก็ยังได้ร่วมกันนำรถและสิ่งของที่พอจะหามาได้ ร่วมไปในคณะเดินทางเพื่อขึ้นไปบริจาคให้กับชาวบ้านที่อยู่บนเขา


                             3)  การร่วมเดินทางชี้แจงกับชาวบ้านในพื้นที่ต้นน้ำ จากการเข้าร่วมทำกิจกรรมในโครงการอนุรักษ์ป่า
                       ต้นน้ำ ทั้งชาวบ้านในพื้นที่เทศบาลตำบลอมก๋อยและพื้นที่ข้างเคียงได้เข้ามาร่วมในคณะเดินทางไปชี้แจงและ
                       มอบสิ่งของกับประชาชนในพื้นที่ต้นน้ำ แม้ว่าการสื่อสารด้วยภาษาจะต่างกันก็ตาม แต่ความร่วมมือของ

                       ประชาชนในพื้นล่างที่เห็นความสำคัญของแหล่งน้ำและได้ร่วมรับรู้ถึงปัญหาก่อนที่จะเดินทางมายังแหล่งต้นน้ำ
                       ทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเช่นเดียวกัน

                             4)  การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ เมื่อเทศบาลดำเนินการมาได้ในระดับหนึ่งแล้วจะมีการ

                       เชิญแกนนำในระดับชุมชนบนพื้นที่ต้นน้ำมาอบรมเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ทำให้การดำเนินการ
                       เริ่มเป็นรูปเป็นร่างและมีแกนนำหลักทั้งระดับหน่วยราชการและองค์กรพัฒนาเอกชนได้เข้ามาร่วมดำเนินการกัน
                       อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแกนนำชุมชนในพื้นล่าง จนเกิดกลุ่มคนฮักป่าต้นน้ำแม่ตื่นขึ้น และได้มีการจัดตั้ง

                       คณะกรรมการขึ้นมาบริหารงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

                          การระดมทรัพยากร/ทรัพยากรที่ใช้


                             1)  งบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลตำบลอมก๋อย เทศบาลตำบลอมก๋อย ในฐานะที่เป็นหน่วยงาน
                       หลักในการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ตื่นได้บรรจุโครงการไว้ในเทศบัญญัติและร่างงบประมาณ
                       รายจ่ายประจำปีงบประมาณไว้ในแผนงานด้วย เพื่อจัดสรรงบประมาณมาใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ แม้ว่า

                       โดยสภาพพื้นที่ต้นน้ำจะอยู่ภายใต้การปกครองของพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นก็ตาม แต่ด้วยการริเริ่ม
                       และลำน้ำแม่ตื่นเป็นสายน้ำหลักของชาวบ้านอมก๋อยร่วมกัน จึงทำให้เทศบาลในฐานะแกนหลักในการจัดทำ
                       โครงการได้จัดสรรงบประมาณทั้งในรูปของโครงการ “หมู่บ้านต้นน้ำร่วมใจคืนป่าถวายในหลวง ที่มีเป้าหมาย

                       เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านต้นน้ำจำนวน 5 หมู่บ้าน อพยพออกจากป่าต้นน้ำ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 เป็น
                       จำนวน 300,000 บาท อยู่ภายใต้การดูแลของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลอมก๋อย หรือ
                       “โครงการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำ” ซึ่งมีเป้าหมายในการก่อสร้างฝายแม้ว การก่อสร้างฝายคอนกรีต เป็นจำนวน

                       100,000 บาท อยู่ภายใต้การดูแลของกองช่าง เทศบาลตำบลอมก๋อย ปรากฏในยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์
                       ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อ 4.2 แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
                       และสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161