Page 152 - kpi10607
P. 152
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1
สิ่งแวดล้อม โดยมีทั้งพนักงานจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นคนนอกพื้นที่
เทศบาลจึงได้จัดทำบ้านพักพนักงาน และในพื้นที่มีการอาศัยบ้านพักหรือหอพักมากกว่าการเดินทางไปกลับ
ระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับอำเภออมก๋อย ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้เห็นถึงการทำงานอย่างแข็งขันถูกสะท้อนผ่านการ สถาบันพระปกเกล้า
จัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่ร่วมกับประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอมก๋อยและพื้นที่ข้างเคียง พร้อมไป
กับการสร้างความโปร่งใสด้วยการเน้นให้ประชาชนทำกิจกรรมร่วมกับทางเทศบาล
1) โครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ
สภาพปัญหา/สถานการณ์ก่อนริเริ่มโครงการ
สภาพพื้นที่ของเทศบาลตำบลอมก๋อยส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา ประชาชนได้อาศัยพื้นที่เหล่านี้ในการ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและหาของป่า โดยเฉพาะชาวเขาเผ่าต่างๆ ในเขตพื้นที่ข้างเคียงที่เผาป่าในช่วงหน้า
แล้งหรือระหว่างต้นปี เพื่อเก็บของป่ามาขายและเพื่อการบริโภค รวมถึงการทำไร่เลื่อนลอย อีกทั้งยังมีการปลูก
ฝิ่นบนยอดเขา มีการตัดไม้ทำลายป่ากันเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงฤดูน้ำหลากจึงเกิดน้ำท่วมพื้นที่ ของป่าหรือ
ผลผลิตทางการเกษตรถูกทำลาย ชาวอมก๋อยถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เพราะมีเส้นทางติดต่อเพียงเส้นทาง
เดียวคือทางถนน และจำเป็นต้องอาศัยเครื่องอุปโภคบริโภคจากภายนอกพื้นที่ด้วยกันทั้งสิ้น
ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ตัดไม้ทำลายป่าและทำไร่เลื่อนลอยเป็นชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่บริเวณต้นน้ำแม่ตื่น
ภายใต้การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อยและองค์การบริหารส่วนตำบลยางเปียง ในช่วงแรก
เทศบาลตำบลอมก๋อยได้พยายามจับกุมและนำมาลงโทษ แต่ก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน อีกทั้งชาวบ้าน
เองก็ขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้นายกเทศมนตรีตำบลอมก๋อยได้เริ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับแกนนำ
ชาวบ้าน เพื่อหาทางออกโดยการจัดทำโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และได้มีการเสนอโครงการให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นข้างเคียงได้เข้ามาร่วมดำเนินการ
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
1) เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และรักษาแหล่งต้นน้ำแม่ตื่นในเขตอำเภออมก๋อย ซึ่งเป็นสายน้ำหลักที่ใช้ใน
การอุปโภคบริโภค
2) เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความร่วมมือกับของประชาชนในพื้นที่อำเภออมก๋อย
3) เพื่อลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่าและการทำไร่เลื่อนลอยของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ
4) เพื่อสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบร่วมกันของประชาชน
5) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันในรูปของกลุ่มคนฮักต้นน้ำแม่ตื่น อำเภออมก๋อย
6) เพื่อปลูกจิตสำนึกของชาวเขาในพื้นที่ต้นน้ำด้วยการนำวิทยากรไปให้ความรู้และให้เห็นความสำคัญ
ของการดูแลรักษาต้นน้ำ