Page 147 - kpi10607
P. 147

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1               1)  ผู้บริหารเทศบาลมีวิสัยทัศน์ จริงใจ และให้ความสำคัญต่อการดำเนินโครงการ

              สถาบันพระปกเกล้า        2)  การประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงการแก่ประชาชนทั่วไป





                          3)  การมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านผู้นำชุมชนอย่างเป็นทางการ


                          4)  การสร้างความร่วมมือของประชาชนในแต่ละชุมชน ระหว่างชุมชน และเทศบาล รวมไปถึงการสร้าง

                            ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานภาคเอกชนอื่นๆ


                      อุปสรรคในการดำเนินโครงการและการแก้ไขปัญหา

                         การดำเนินโครงการเทศบาลย่อส่วนในปีที่ผ่านมา คนในพื้นที่มีความต้องการเข้ามาเป็นคณะกรรมการ

                   ชุมชนมากขึ้น ทำให้มีบางคนที่หวังประโยชน์ส่วนตน เช่น เกียรติยศชื่อเสียง หรือผลประโยชน์ตอบแทนใน
                   ส่วนอื่นๆ ปะปนเข้ามาเป็นกรรมการชุมชนด้วย ฉะนั้น การคัดเลือกคนที่เข้ามาเป็นประธานชุมชนและ
                   คณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลควรเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน ต้องมีความเป็นผู้นำ มี
                   วิสัยทัศน์ในการทำงาน จริงจังและมีความจริงใจในการทำงานพัฒนาชุมชน และเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม


                         ปัจจุบันโครงการเทศบาลย่อส่วนได้ดำเนินการไปแล้ว 4 แห่ง และจะดำเนินการเพิ่มเติม แต่ยังขาดพื้นที่
                   ในการสร้างที่ทำการชุมชนในชุมชนที่เหลืออีกจำนวน 6 แห่ง ประชาชนในชุมชนบางกลุ่มยังไม่เข้าใจ
                   วัตถุประสงค์โครงการ อีกทั้งยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการดำเนินการของที่ทำการชุมชนอย่างเต็มที่ ซึ่งเทศบาล

                   ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในประเด็นนี้ด้วยการจัดหาพื้นที่ดำเนินการจัดตั้งที่ทำการชุมชนในชุมชน และ
                   ประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างต่อเนื่องให้ประชาชนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์โครงการ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ

                   กันในการทำงานพัฒนาชุมชน โดยใช้ที่ทำการชุมชนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่น
                   ที่ตั้งของชมรมนวดแผนโบราณ กลุ่มออมทรัพย์ โดยเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างคนในชุมชนเดียวกัน
                   ระหว่างชุมชน เทศบาลและหน่วยงานราชการต่างๆ


                         อุปสรรคประการสุดท้าย คือ ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ยังใช้อินเตอร์เน็ตไม่เป็น ทำให้การเข้าถึง
                   โครงการเทศบาลย่อส่วนในช่วงแรกยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทั้งนี้ เทศบาลได้แก้ไขปัญหาด้วยการจัด
                   ฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นแก่ประชาชน เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลของเทศบาลเกิดประสิทธิภาพตาม
                   วัตถุประสงค์ของโครงการ


                      ความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ


                         ความยั่งยืนในการดำเนินโครงการสามารถพิจารณาได้จากการที่เทศบาลมีความพยายามที่จะขยาย
                   ที่ทำการชุมชนให้มีครบทั้ง 10 ชุมชน เพื่อเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสารระหว่างเทศบาลกับ
                   ชุมชนให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น โดยการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญอีก

                   ประการที่สนับสนุนให้โครงการนี้มีความยั่งยืน คือ มาตรฐานในการดำเนินงานของเทศบาลในเรื่องการมี
                   ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการที่ประชาชนในชุมชนเกิดจิตสำนึกและความตระหนักถึงความสำคัญในการ
                   รักษาผลประโยชน์ของชุมชนร่วมกัน
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152