Page 145 - kpi10607
P. 145

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1        กับประชาชนในชุมชนนั้นๆ ช่วยสะท้อนปัญหาความต้องการ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และพัฒนา

              สถาบันพระปกเกล้า   ชุมชนด้านต่างๆ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ร่วมกับเทศบาล อีกทั้งยังทำหน้าที่ให้บริการ



                   ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาล และเป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์เทศบาลตำบลเมืองพาน เพื่อแก้ปัญหาและ
                   รับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยจะมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง


                         4)  จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไว้ที่ทำการชุมชนทุกแห่ง เทศบาล
                   ตำบลเมืองพานจัดทำศูนย์ข้อมูลชุมชน โดยมีการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำที่ทำการชุมชนทุกแห่ง ซึ่ง

                   สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ และเปิดให้บริการฟรี เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของเทศบาล ทำให้ประชาชน
                   สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของเทศบาล และสามารถตรวจสอบเทศบาลได้โดยไม่ต้องมาขอรับ
                   ข้อมูลที่สำนักงานเทศบาล


                         5)  ประชาสัมพันธ์โครงการเทศบาลย่อส่วน ให้ประชาชนรับทราบ เทศบาลตำบลเมืองพานมีการชี้แจง
                   ประชาสัมพันธ์โครงการเทศบาลย่อส่วนให้ประชาชนรับทราบ โดยใช้ช่องทาง เช่น เสียงตามสาย วิทยุชุมชน
                   และมีการชี้แจงแก่ประชาชนเมื่อมีการทำประชาคมภายในชุมชน


                         6)  ประเมินผลการปฏิบัติงานโครงการเทศบาลย่อส่วน เทศบาลตำบลเมืองพานได้ทำการประเมินความ
                   พึงพอใจของประชาชนในชุมชนต่อการบริหารจัดการของเทศบาล โดยได้จัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
                   แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การประเมินผลการดำเนินโครงการเทศบาลย่อส่วน และการประเมินความพึงพอใจ

                   ของประชาชนต่อผลการดำเนินงานของเทศบาล ในเรื่องความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของเทศบาล และองค์กร
                   ต่างๆ ในชุมชน การตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานของเทศบาล และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ
                   เทศบาล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารจัดการในชุมชนและการดำเนินโครงการเทศบาลย่อส่วน

                   ในปีต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

                      ลักษณะการมีส่วนร่วม


                         ในการดำเนินโครงการเทศบาลย่อส่วนนั้นถือได้ว่าเทศบาลได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมเป็น
                   อย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการดึงคณะกรรมการชุมชนแต่ละชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งแต่ละชุมชนจะประกอบ
                   ด้วยตัวแทนจำนวน 5 – 16 คน โดยได้รับการคัดเลือกจากคนในชุมชนและได้รับการแต่งตั้งจากเทศบาลให้เข้า

                   มาทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานราชการ องค์กรอื่นๆ ในการพัฒนาชุมชน รวมถึงประสานงานระหว่าง
                   สมาชิกสภาเทศบาลในแต่ละเขต ผู้บริหารเทศบาลตำบลเมืองพานกับชุมชน โดยเทศบาลจะจัดให้มีการประชุม
                   ร่วมกับคณะกรรมการชุมชนเป็นประจำทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเสนอความต้องการของ

                   ประชาชน ร้องเรียนปัญหาต่างๆที่ประสบ แนวทางแก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
                   ในการพัฒนาชุมชนต่อเทศบาล

                         การเข้ามามีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนดังกล่าวถือได้ว่าอยู่ในระดับของการสร้างความร่วมมือ

                   (Collaboration) ในการทำงานร่วมกันระหว่างประชาชน คณะกรรมการชุมชนกับเทศบาล ซึ่งข้อเสนอต่างๆ ใน
                   ที่ประชุมจะถูกหยิบยกนำไปกำหนดเป็นนโยบาย การวางแผนโครงการในการพัฒนาชุมชน และจัดทำแผน
                   พัฒนาของเทศบาลต่อไป ทั้งนี้ ก่อนที่คณะกรรมการชุมชนแต่ละชุมชนจะรวบรวมและส่งผ่านความเห็นของ

                   ประชาชนไปยังเทศบาลนั้น คณะกรรมการชุมชนได้ใช้ที่ทำการชุมชนหรือสำนักงานเทศบาลย่อส่วนเป็นสถานที่
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150