Page 142 - kpi10607
P. 142
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายสนับสนุนวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการกำจัด
ขยะให้ถูกสุขลักษณะการคัดแยกขยะ และการดูแลสภาพแวดล้อมให้ชุมชนให้น่าอยู่ รวมทั้งช่วย
ตรวจร่างกายให้กับประชาชน และตรวจสอบความสะอาดของบ้านเรือนของประชาชน สถาบันพระปกเกล้า
ผลสำเร็จในการดำเนินโครงการ
ผลสำเร็จในการดำเนินโครงการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนสามารถจำแนกออกเป็นรายด้าน
ได้ดังต่อไปนี้
ด้านการบริหารงาน สืบเนื่องจากการคัดแยกขยะส่งผลให้ปริมาณขยะที่ต้องเก็บขนกำจัดลดลง ทำให้
ความถี่ในการจัดเก็บขยะลดลงตามไปด้วย จากที่เทศบาลจัดเก็บขยะจากครัวเรือนทุกวัน ได้ลดความถี่ลงเป็น
ทุก 2 วัน และบางชุมชนเก็บเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ ยังพบว่าแต่ละชุมชนมีรูปแบบการจัดการขยะ
ที่เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น มีแผนปฏิบัติในการจัดการขยะมูลฝอยและสามารถนำแผนสู่การปฏิบัติได้ ชุมชน
มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย อีกทั้งยังเกิดทักษะในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และสามารถนำ
รูปแบบไปปรับประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านอื่นๆ และท้ายที่สุดถือเป็นผลสำเร็จในการประสานความ
ร่วมมือระหว่างองค์กรชุมชนและเทศบาลฯ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าสภาพแวดล้อมทั่วไปภายในชุมชนดีขึ้น ถนน ตรอก ซอย ภายในชุมชนสะอาด
เป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความสวยงามแก่ผู้พบเห็น ไม่พบขยะเกลื่อนกลาดตามถนนหรือในคูคลอง สามารถ
ลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน และประชาชนมีรายได้เสริมจากการรีไซเคิลขยะ
ด้านสังคม/ชุมชน ทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและร่วมมือกันพัฒนาชุมชนเพื่อส่วนรวม และประชาชน
ในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีขึ้น เข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาและวิธีในการแก้ไขปัญหาขยะของชุมชน
ด้านเศรษฐกิจ เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชนภายในชุมชน ทำให้ประชาชนรู้จักเพิ่มมูลค่า
จากวัสดุที่เหลือใช้ อีกทั้งยังทำให้ชุมชนมีรายได้จากการศึกษาดูงานของหน่วยงานอื่น รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย
ชุมชนสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมที่ก่อประโยชน์แก่ชุมชน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ
การให้ความรู้และกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการจัดการขยะภายในชุมชนอย่างจริงจังจาก
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเทศบาลตำบลเมืองพาน ผู้นำชุมชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองเชียงราย เป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการจัดทำโครงการนี้ให้สำเร็จ ประกอบกับการให้ความ
สำคัญต่อโครงการของผู้บริหาร และการที่ประชาชนและชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพาน 10 ชุมชนเข้ามา
มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะในชุมชนในเขตเทศบาลมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้โครงการ
ประสบความสำเร็จ
อุปสรรคในการดำเนินโครงการและการแก้ไขปัญหา
ประชาชนไม่ให้ความสนใจและไม่ให้ความร่วมมือในระยะแรกของการดำเนินการ เนื่องจากเห็นว่าสร้าง
ความยุ่งยากในการจัดการขยะมากกว่าที่เคยปฏิบัติกันมา ทั้งนี้เทศบาลได้แก้ไขโดยใช้วิธีการอธิบายให้