Page 143 - kpi10607
P. 143

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1        ประชาชนเห็นความสำคัญผ่านเวทีประชาคม และส่งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ เข้าไปในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อ

              สถาบันพระปกเกล้า   ชี้แจงและขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการ เช่น การฝังขยะ ลดการเผาขยะ การให้ความรู้กับชาวบ้าน



                   ในการจัดการขยะเบื้องต้น และการขุดหลุมสำหรับฝังขยะ ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณขยะ และสามารถย่อย
                   สลายภายในเวลา 4-5 ปี


                      ความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ


                         เทศบาลตำบลเมืองพานได้มีการกำหนดแนวทางที่จะออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการขยะ
                   ภายในชุมชน รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลการจัดการขยะ ประกอบกับยังได้พยายามส่งเสริม
                   บทบาทของผู้นำชุมชน ประชาคม และคณะกรรมการชุมชนในการแก้ไขปัญหา เพื่อเสริมสร้างหรือเพิ่มศักยภาพ

                   ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในการต่อยอดหรือขยายผลไปสู่กระบวนการลดปริมาณขยะมูลฝอย
                   ในรูปแบบการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร การทำน้ำหมักจากจุลินทรีย์ มีการออมทรัพย์โดยการก่อตั้งธนาคาร
                   วัสดุรีไซเคิล ผลจากการดำเนินงานสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้ประชาชน ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจประการสำคัญ

                   ในการสานต่อโครงการให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

                      ความสามารถในการถ่ายทอดบทเรียนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น


                         เทศบาลตำบลเมืองพานได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนที่จะเข้ามาสนับสนุน
                   ช่วยขับเคลื่อนการบริการสาธารณะที่เทศบาลรับผิดชอบอยู่ได้ โดยคัดเลือกกิจกรรมที่มีความใกล้ชิดกับวิถีชีวิต

                   ประจำวันของประชาชน คือ การเก็บขนขยะมูลฝอย ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เทศบาลและประชาชนทุกคน
                   กำลังเผชิญ ให้องค์กรชุมชนที่มีอยู่แล้วเข้ามามีส่วนร่วมกับเทศบาลในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ สำหรับองค์กร
                   ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่กำลังเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับเทศบาล ก็สามารถที่จะนำแนวทางที่เทศบาลดำเนินการ
                   ไปปรับหรือประยุกต์ใช้ได้ หากแต่มีข้อควรคำนึงว่าการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่นั้นไม่สามารถแก้ไขโดย

                   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ผู้เดียว แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน ชุมชน หรือองค์กรชุมชน
                   ที่มีอยู่แล้วเข้ามาร่วมดำเนินการ


                   2) โครงการเทศบาลย่อส่วน

                      สภาพปัญหา/สถานการณ์ก่อนริเริ่มโครงการ


                         จากการบริหารงานของเทศบาลตำบลกำแพงที่ผ่านมาพบว่า เทศบาลประสบปัญหาในการดำเนิน
                   โครงการ โครงการต่าง ๆ ของเทศบาลที่ได้วางแผนไว้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ ซึ่ง
                   สาเหตุสำคัญคือประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่น ขาดความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการ

                   บริหารงานของเทศบาล ทำให้การประสานงานขอความร่วมมือระหว่างเทศบาลกับประชาชนเป็นไปค่อนข้าง
                   ลำบาก อีกทั้งการสื่อสารระหว่างเทศบาลกับประชาชนยังไม่ตรงกัน ส่งผลให้การทำงานร่วมกันมีปัญหา

                         นอกจากนี้ เทศบาลยังประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร ไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ทั่วถึง

                   ตามการประมาณการ ประชาชนหลบเลี่ยงภาษีและไม่ได้ให้ความสนใจการพัฒนาท้องถิ่น เนื่องจากประชาชน
                   ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร และสถานที่ของเทศบาลมีจำกัดและคับแคบ
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148