Page 141 - kpi10607
P. 141

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1 2            สำหรับการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ นั้น ถือได้ว่าประชาชนแต่ละชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมและ

              สถาบันพระปกเกล้า   มีบทบาท (Involve) ในการดำเนินโครงการอย่างมาก เพราะเป็นกำลังสำคัญในการคัดแยกขยะและนำขยะ



                   บางส่วนไปขายหรือทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยชีวภาพ


                         ลักษณะการมีส่วนร่วมประการสำคัญที่โดดเด่นของโครงการนี้คือการสร้างความร่วมมือ
                   (Collaboration) ในการบริหารจัดการขยะในชุมชนระหว่างเทศบาลกับชุมชนต่างๆ โดยมีคณะกรรมการชุมชน
                   เป็นแกนนำหลักในการทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาการจัดการขยะ และเข้าร่วม

                   โครงการ ประกอบกับเทศบาลได้เปิดโอกาสให้คณะกรรมการชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยการตั้งคณะทำงาน
                   ร่วมกันดำเนินการ รวมถึงการบริหารจัดการกองทุนรับซื้อขยะเพื่อจำหน่ายให้ผู้ประกอบการที่มีการบริหารงาน
                   ในรูปแบบของคณะกรรมการ


                         กล่าวโดยสรุป โครงการนี้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและคณะกรรมการชุมชน โดย
                   ใช้คณะกรรมการชุมชนเป็นสื่อกลางในการดึงประชาชนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล และมี
                   กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างประชาชนกับเทศบาลตำบลเมืองพาน ส่งผลให้การดำเนินการแก้ปัญหาขยะ

                   มูลฝอยในเขตพื้นที่เทศตำบลเมืองพานประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

                      การระดมทรัพยากรและทรัพยากรที่ใช้


                         งบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลตำบลเมืองพานในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการ
                   ทำให้มีการจัดทำเทศบัญญัติและร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยมีงบประมาณโครงการ ดังนี้ ค่าถังขยะ
                   สีดำมีฝาปิดขนาด 27 ลิตร จำนวน 1,480 ใบๆ ละ 54 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 79,920 บาท


                         นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงาน/ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ดังนี้

                           -  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเมืองพาน ทำหน้าที่จัดประชาคมเพื่อรับฟังความ
                            คิดเห็น และประสานงานกับประชาชนและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 6 คน ทำงานวันและเวลาราชการ


                           -  ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองพาน 10 ชุมชน

                           -  เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่ตรวจร่างกายให้กับประชาชน

                            ตรวจสอบความสะอาดของบ้านเรือน และอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน ทำงาน
                            วันและเวลาราชการ

                           -  ผู้นำชุมชนทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์วิธีการจัดการขยะ และสนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะและ

                            กำจัดขยะให้ถูกต้อง จำนวน 12 คน ทำงานทุกวัน

                           -  เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชนและ
                            ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือในการจัดการขยะ จำนวน 1 คน ทำงานวันและเวลาราชการ


                           -  เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองพาน ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชนและ
                            ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือจัดการขยะ จำนวน 1 คน ทำงานวันและเวลาราชการ
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146