Page 136 - kpi10607
P. 136

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




                                                                                                                 1


                       การรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนโดยใช้กิจกรรมต่างๆ เป็นสื่อกลางทำให้เกิดความความร่วมมือและก่อให้เกิดความ
                       สัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน และระหว่างชุมชนมากขึ้น เช่น งานลอยกระทง งานสืบชะตาเมือง กีฬาประชาชน
                       กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ งานกีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ เป็นต้น                     สถาบันพระปกเกล้า


                             สำหรับการทำงานของเทศบาลทั้งในส่วนของสภาและฝ่ายบริหารมีลักษณะร่วมมือและช่วยกันทำงาน
                       ลงพื้นที่เพื่อเข้าถึงชาวบ้าน ไม่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และในส่วนของชุมชน ประชาชนเริ่มสนใจทำงานเพื่อ
                       ส่วนรวมมากขึ้น ประกอบกับเทศบาลมีการปรับรูปแบบการทำงานเน้นความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยยึด

                       แนวคิด “เทศบาลของชุมชน” เป็นหลัก

                       1) โครงการส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน


                         สภาพปัญหา/สถานการณ์ก่อนริเริ่มโครงการ

                             เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ชุมชนขยายตัวและมีการอุปโภคบริโภค
                       สินค้าและบริการต่าง ๆ จำนวนมาก เกิดสิ่งปฏิกูลที่ชุมชนทิ้งลงสู่แหล่งน้ำในเขตเทศบาลและเกิดปัญหาขยะ

                       ปัจจุบันเทศบาลประสบปัญหาการจัดการขยะหลายประการ ได้แก่ ที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ ประชาชนไม่เห็นด้วย
                       กับการจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการขยะมูลฝอย ความไม่พร้อมของพนักงานจ้าง และชุมชนเข้าใจว่าการจัดการ

                       ขยะเป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้นและเห็นว่าขยะเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ไม่มีคุณค่า

                             สถานการณ์ขยะมูลฝอยและการจัดการขยะปัจจุบันมีปริมาณเฉลี่ย 5 ตัน/วัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
                       อีกทั้งยังมีขยะมูลฝอยนอกเขตเทศบาลที่คนแอบนำมาทิ้งมากขึ้น แม้เทศบาลจะมีรถขนส่งมูลฝอยจากชุมชน

                       เพื่อนำไปกำจัดยังบ่อขยะ 2 คัน เป็นรถเทท้าย 1 คันและรถอัดท้าย 1 คัน พนักงานเก็บขยะ 8 คน พนักงาน
                       กวาดถนน 6 คน และสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยของเทศบาลมีพื้นที่ประมาณ 21 ไร่ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลที่มี
                       ชุมชนและบ้านเรือนล้อมรอบแต่ก็ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาขยะได้


                             จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านสุขาภิบาลพบว่า ถังขยะที่ใช้ในครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นถังขยะที่ทำขึ้น
                       ใช้เองซึ่งไม่ได้มาตรฐาน ประกอบกับในชุมชนไม่มีสถานที่กำจัดขยะรวม คนทิ้งขยะเกลื่อนกลาดไม่เป็นที่ ขยะ
                       สะสมมากขึ้นทุกปีกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรคนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร
                       นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ยังได้รับผลกระทบจากจากการเผาขยะกลางแจ้งแบบเผารวมของแต่ละครัวเรือน

                       ทั้งขยะที่เป็นพลาสติก โฟม และขยะพิษ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

                             จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาดังกล่าวพบว่า สาเหตุส่วนหนึ่งคือครัวเรือนมีความรู้เกี่ยวกับการ

                       กำจัดขยะที่ถูกวิธีตามหลักสุขาภิบาลในระดับต่ำ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะเบื้องต้น เช่น การเผา
                       การฝัง การทำปุ๋ยหมัก การกำจัดขยะในครัวเรือน การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ การคัดแยกขยะ และขาดความ
                       ตระหนักในปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชน


                             เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะดังกล่าวข้างต้น เทศบาลตำบลเมืองพานจึงจัดกิจกรรมส่งเสริม
                       ให้ครัวเรือนจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี โดยให้ครัวเรือนมีความรู้ที่ถูกต้อง และปรับทัศนคติของประชาชน
                       และครัวเรือนในการจัดการขยะ ตลอดจนส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย โดยมีแกนนำ

                       ชุมชนเป็นสื่อกลางการจัดกิจกรรม
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141