Page 131 - kpi10607
P. 131

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          1 2            งานเก็บขนขยะมูลฝอย

              สถาบันพระปกเกล้า      เวลา 05.00 - 07.00 น.





                            เวลา 13.00 - 17.00 น.


                         รถจัดเก็บขนขยะมูลฝอย  จำนวน  5  คัน

                            รถขยะชนิดอัดท้าย จำนวน  3  คัน

                            รถขยะชนิดเปิดท้ายเทท้าย ขนาด 4 ล้อ จำนวน  2  คัน


                         กำหนดการพัฒนาบุคลากร  เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีจำนวนจำกัดเมื่อ
                   เทียบกับภาระหน้าที่ทีรับผิดชอบและจะต้องบริการประชาชนให้เกิดประโยชน์สุข ดังนั้นการบริหารจัดการ
                   ภายในองค์กรมีความจำเป็นต้องบูรณาการ และพัฒนาความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความ

                   สามารถและสามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ และเน้นการติดตามและการประเมินผล

                         กำหนดการมีส่วนร่วม  ในอดีตการจัดการขยะมูลฝอยได้เน้นการกำจัดขยะที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่

                   ปลายเหตุ แต่การจัดการขยะตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะเป็นการลดขยะจากแหล่งกำเนิด อันได้แก่
                   การร่วมมือกันลดและแยกขยะ การสนับสนุนการนำมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ ฯลฯ  ซึ่งวิธี
                   ดังกล่าวจะช่วยลดอัตราการเกิดขยะได้


                         การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เทศบาลเมืองท่าข้าม สามารถบริหารจัดการ
                   ขยะมูลฝอยได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2548 เทศบาลฯ จัดเก็บขยะวันละ
                   ประมาณ 23.5 ตัน ในปี พ.ศ. 2549 จัดเก็บได้ประมาณวันละ 22 ตัน และในปี พ.ศ. 2550 เดือนธันวาคม

                   จัดเก็บได้ประมาณวันละ 18.47 ตันซึ่งจากปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นขยะที่ประชาชนนอกเขตได้
                   บรรจุถุงดำนำมากองทิ้งไว้ข้างถังด้วยจำนวนหนึ่ง

                         จากปัญหาปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค

                   ที่ 14  จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แจ้งให้ทราบว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้คัดเลือกให้
                   เทศบาลเมืองท่าข้ามเป็นเทศบาลนำร่องในการจัดการขยะแบบครบวงจรโดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์
                   เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน

                   การมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดและแยกขยะอย่างเป็นรูปธรรมก่อนนำไปกำจัด

                         การดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะชุมชน
                   แบบครบวงจร ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2548  โดยมีเป้าหมายให้เทศบาลดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วม

                   ของประชาชนในพื้นที่ ดังนี้

                          1)  ให้มีธนาคารขยะหรือกิจกรรมอย่างอื่นที่เหมาะสมในโรงเรียนอย่างน้อย 3 แห่งต่อพื้นที่ดำเนินการ

                          2)  มีศูนย์รีไซเคิลชุมชนหรือกิจกรรมอย่างอื่นที่เหมาะสม อย่างน้อยพื้นที่ละ 1 แห่งต่อพื้นที่ดำเนินการ


                          3)  มีศูนย์สาธิตการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ ปุ๋ยหมักในโรงเรียน/ชุมชนอย่างน้อย 1 แห่งต่อพื้นที่ดำเนินการ
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136