Page 127 - kpi10607
P. 127

ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย




          12              3)  ขาดบุคลากรระดับปฏิบัติที่มีความรู้ความชำนาญ

              สถาบันพระปกเกล้า        4)  ข้อจำกัดด้านงบประมาณ





                          5)  แผนการขยะมูลฝอยในระดับท้องถิ่นยังไม่มีการพิจารณาดำเนินการในลักษณะศูนย์กำจัด

                            ขยะมูลฝอยรวม

                          6)  ระเบียบและแนวทางปฏิบัติในเรื่องศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมทั้งยังไม่มีการดำเนินการ
                            อย่างต่อเนื่อง


                          7)  ยังมีการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์น้อยไม่รู้จักมูลค่าของวัสดุเหลือใช้, ไม่แยกขยะ

                          8)  ประชาชนในท้องถิ่นขาดจิตสำนึก ขาดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอย

                         เทศบาลเมืองท่าข้ามมีระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบฝังกลบ สถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยตั้งอยู่ที่

                   หมู่ 2 หมู่บ้านควนทิ้ง ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี เป็นพื้นที่อยู่ใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงในเขตองค์การ
                   บริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน โดยอยู่ห่างจากเทศบาลเมืองท่าข้าม 17 กม. มีชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงสถานที่กำจัด

                   ขยะมูลฝอยระยะห่างประมาณ 3 กม. ล้อมรอบด้วยสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน ขนาดพื้นที่กำจัด
                   ทั้งหมด 20 ไร่ โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้ที่ดินของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฏร์ธานี เริ่มใช้
                   กำจัดขยะมูลฝอยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากขาดการจัดการที่ดี การทิ้งขยะมูลฝอยเมื่อฝังกลบไม่เป็นระบบ
                   ไม่สามารถฝังกลบให้ถูกหลักสุขาภิบาลได้ เนื่องจากมีหน่วยงานที่มาใช้สถานที่กำจัดขยะแห่งนี้ด้วยจำนวน

                   10 หน่วยงาน โดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน ซึ่งปริมาณขยะในเขตเทศบาลมีเพียง
                   วันละ 16.32 ตัน แต่ขยะจากนอกเขตเทศบาลมีถึงวันละ 90 ตัน คือ

                         ขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม วันละ            10     ตัน

                         ขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวเตย วันละ             10    ตัน
                         ขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลพุนพิน วันละ             10    ตัน

                         ขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาหัวควาย วันละ         10     ตัน
                         ขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน วันละ          20    ตัน
                         ขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง วันละ         10     ตัน
                         ขยะจากกองบิน 7 วันละ                                11     ตัน

                         ขยะจากโรงงานเอเซียนฟู้ดส์ วันละ                      6     ตัน
                         ขยะจากบ่อน้ำร้อน วันละ                               6     ตัน

                         ขยะจากโรงงานเลเท็กซ์ วันละ                          10     ตัน

                         เมื่อขยะทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมาทิ้งร่วมกันทำให้บริเวณขยะเพิ่มขึ้นเป็นวันละประมาณ
                   100 ตัน ถ้าเทศบาลฯ ฝังกลบไม่ทันจะส่งกลิ่นรบกวนประชาชนบริเวณใกล้เคียง บางครั้งมีเศษขยะถุงพลาสติก

                   ปลิวไปตกในสวนยางยางพาราหรือสวนปาล์มน้ำมันของประชาชน ทำให้ประชาชนในบริเวณนั้นมองว่าเทศบาล
                   เมืองท่าข้ามละเลยไม่ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและจะกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรเมื่อประชาชน
                   ในบริเวณนั้น รวมตัวกันหรือต่อต้านไม่ยินยอมให้ใช้สถานที่ดังกล่าวกำจัดขยะจะส่งผลกระทบต่อมาถึง
                   การเมืองในระดับท้องถิ่นและวัฒนธรรมการยึดถือพวกพ้อง เป็นปัญหาเรื้อรังต่อไป อย่างไรก็ตามหากปล่อยไว้
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132