Page 165 - kpi10607
P. 165
ฝ่าวิกฤต สร้างโอกาส บทบาทท้องถิ่นไทย
1
สถาบันพระปกเกล้า ต้นครัวตานหลวง จำนวน 6 กลุ่มๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท เงินรางวัลการประกวดครัวตานฯ
การระดมทรัพยากร/ทรัพยากรที่ใช้
งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการของเทศบาลตำบลอมก๋อย แบ่งออกเป็นค่าคสนับสนุนจัดทำ
ประเภทความคิดสร้างสรรค์ 1-3 เป็นเงิน 7,500 บาท เงินรางวัลการประกวดแม่เฮือนงาม เป็นเงิน 1,000 บาท
โล่ห์เกียรติยศการประกวดแม่เฮือน เป็นเงิน 1,000 บาท ค่าจัดสถานที่/ค่าจัดทำเวที/ประดับตกแต่ง เป็นเงิน
10,000 บาท ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 5,000 บาท ค่าจ้างเหมาวงดนตรี เป็นเงิน 18,000 บาท ค่าเช่า
เครื่องเสียงเพื่อใช้ในการแห่นำขบวนฯ จำนวน 6 ชุดๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท ค่าป้าย
ประชาสัมพันธ์งาน เป็นเงิน 5,000 บาท และค่าอื่นๆ เป็นเงิน 18,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท
(หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยทุกรายการในงบประมาณการใช้จ่ายในโครงการอยู่ในรูปของการถัวเฉลี่ยจ่ายทั้ง
โครงการ ซึ่งงบประมาณในแต่ละปีนั้นมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและวัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น
จึงทำให้การกำหนดงบประมาณในการดำเนินงานมีการปรับเปลี่ยนไปตามค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
ผลความสำเร็จ
1) ประชาชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน การจัดทำโครงการ “งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง (แอ่วสงกรานต์แห่
ครัวตานหลวง)” ทำให้เกิดการตระหนักรู้ร่วมกันถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนภายในชุมชนเดียวกัน เพื่อ
เตรียมความพร้อมและขบวนในการแสดงต่างๆ ระหว่างการแห่ขบวน ประชาชนเกิดความรู้สึกร่วมในกิจกรรม
มากยิ่งขึ้น และกลายเป็นประเพณีที่ได้ทำให้เกิดการจัดกิจกรรมที่ได้สร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน
2) การได้รับรางวัลเป็นผลตอบแทนจากความร่วมมือของชุมชน ผลจากการได้รับรางวัล ไม่ว่าจะเป็น
ประเภทสวยงามหรือความคิดสร้างสรรค์ที่เทศบาลตำบลอมก๋อยได้มอบให้กับชุมชนที่ชนะการประกวด เป็นผล
ตอบแทนจากความร่วมมือของชุมชนที่ชนะการประกวด ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ชุมชนที่ได้รับรางวัลจะพยายามสร้าง
ผลงานเพื่อให้ได้รับรางวัลในปีถัดไปเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นให้ชุมชนอื่นๆ ต้องการทำผลงานของตนเองให้ได้รับ
รางวัลบ้างตามไปด้วย ซึ่งจะต้องส่งเสริมให้ชาวบ้านมาร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น เพื่อระดมความคิดในการสร้าง
สรรค์ผลงานให้ได้รับรางวัล แต่สิ่งสำคัญคือ ความสนุกสนานในการทำงานร่วมกันและการร่วมในขบวนแห่เพื่อ
เข้าไปทำพิธีกรรมในวัดแสนทอง
3) การผ่อนคลายในวันหยุดร่วมกัน การจัดงานในวันสงกรานต์ตามประเพณีปี๋ใหม่เมืองของชาวเหนือ
เป็นช่วงวันหยุดที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้ออกไปทำงานยังต่างถิ่นได้กลับมาบ้าน และได้พักผ่อนร่วมกับ
ชาวบ้านในพื้นที่ ได้ทำกิจกรรม และเป็นการผ่อนคลายจากการทำงานร่วมกัน ถึงแม้ว่าการแห่ครัวตานหลวงจะ
ทำให้เกิดการทำงานขึ้นก็ตาม แต่งานนั้นเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความสนุกสนานในวัน
สงกรานต์มากกว่าการมองเป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องกระทำ ประชาชนเต็มใจที่จะทำและสมัครใจที่จะเข้าร่วม
ประกวดกับเทศบาลตำบลอมก๋อย ทำให้งานที่เกิดขึ้นเป็นความตั้งใจในการทำงานของชาวบ้านในชุมชนเดียวกัน
พร้อมกับรอยยิ้มและเสียงหัวเราะในการจัดริ้วขบวนที่ได้แสดงดนตรี การละเล่นต่างๆ ระหว่างทางไปสู่วัด
แสนทอง และเมื่อถึงวัดแล้ว ยังเล่นน้ำสงกรานต์ในงานประเพณี ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมที่ทำให้
ชาวบ้านได้มาร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียงและสนุกสนาน