Page 77 - kpiebook67039
P. 77
76 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
Malaysian Islamic Youth Movement (ABIM)
องค์กรนี้เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษาจาก National University of
Malaysia คณะอิสลามศึกษา โดยมีจุดประสงค์ในการให้ความสนับสนุนการเข้าถึงองค์ความรู้
และการศึกษาด้านศาสนาอิสลาม
ข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
การศึกษาบริบทและภูมิหลังของประเทศมาเลเซียข้างต้นนี้ สะท้อนให้เห็นประเด็นส�าคัญ
สองประการ ได้แก่
ประการแรก การน�าเกมมาใช้กับสังคมที่เยาวชนมีความตื่นตัวทางการเมืองต�่านั้น
มีแนวโน้มที่จะส่งผลในทิศทางบวก ส�าหรับสภาพสังคมที่มีการปิดกั้นมาอย่างยาวนานจนประชาชน
ไร้ซึ่งความสนใจและการตื่นตัว การเข้าถึงองค์ความรู้ในรูปแบบทางการอาจจะส่งผลช้าหรือ
ไม่เกิดผล การสร้างบรรยากาศและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ซึมซับกับเนื้อหาทางสังคมการเมือง
ผ่านรูปแบบของเกม เกิดเป็นการกระตุ้นความสนใจ อาจจะสามารถน�าไปสู่ผลลัพธ์ในทิศทางบวก
จึงเป็นที่น่าสนใจว่ากระบวนการสร้างความตื่นตัวให้แก่ประชาชนผ่านเกมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้
จริงหรือไม่
ทั้งนี้ ประการที่สอง ในสภาพแวดล้อมที่มีการปิดกั้นการเข้าถึงทางการเมืองสูงตั้งแต่
ในอดีตที่ผ่านมา เป็นที่น่าสนใจอีกว่า องค์กรภาคประชาสังคม พรรคการเมือง หรือสถาบัน
การศึกษานั้นมีท่าทีต่อเกมคิดไตร่ตรองเพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง และองค์ความรู้เกี่ยวกับ
4
ทักษะความเป็นพลเมืองอย่างไร จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ท่าทีนั้นเปลี่ยนไป
หรือไม่ และจะมีการต่อยอดไปสู่อะไรในอนาคต
4
ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด หรือการเลือกตั้งครั้งที่ 15 ของประเทศมาเลเซีย เป็นการต่อสู้ระหว่างสองพรรคแนวร่วม ได้แก่ PH และ PN ซึ่งเผชิญ
หน้ากับผลการเลือกตั้งที่ไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีคะแนนเสียงชนะขาด จนเกิดเป็นลักษณะของสภาวะสภาแขวน ที่ทั้ง 2 พรรคแนวร่วม (ซึ่งต่างอ้าง
ชัยชนะในการเลือกตั้ง) จ�าต้องเร่งหาพันธมิตรเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม ในท้ายที่สุด นายอันวาห์ อิบราฮัม จากพรรคแนวร่วม PH ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น
นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 เปลี่ยนขั้วอ�านาจจากการเลือกตั้งครั้งก่อน