Page 74 - kpiebook67039
P. 74

73







                             การแบ่งเขตเลือกตั้งที่ไม่ยุติธรรม และการควบคุมสื่อซึ่งทางฝ่ายกลุ่มการเมือง BN มองว่าเป็น

                             การสร้างเอกภาพในชาติและเสริมความมั่นคงของรัฐ ฉะนั้นแล้ว การเลือกตั้งของประเทศมาเลเซีย
                             จึงถูกวิจารณ์ว่ามีลักษณะเสรีเพียงบางส่วนและไม่ยุติธรรม (Partially free and not fair)


                                      จากบริบททางการเมืองที่ได้เกริ่นไป ระบบการเลือกตั้งจึงไม่เอื้อต่อพรรคการเมือง

                             ขนาดเล็ก หรือพรรคการเมืองอิสระ จนเกิดเป็นปัญหาที่กระทบต่อประเด็นเรื่องของสังคมพหุนิยม
                             ที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ด้วย แม้ว่า BN และพรรค UMNO จะครอบง�าอ�านาจในการบริหาร

                             ประเทศมาเป็นเวลายาวนาน แต่ก็มีกระแสของการตั้งค�าถามและวิพากษ์วิจารณ์อันน�ามาสู่
                             การเปลี่ยนแปลง ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 2007 เริ่มเกิดการแบ่งขั้วระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้าน BN

                             ความไม่พอใจในการใช้อ�านาจแบบผูกขาดและไม่โปร่งใสเริ่มก่อตัว ลามไปถึงการตั้งค�าถามกับ
                             กระบวนการยุติธรรมซึ่งมีปัญหา ระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง การแบ่งแยกชาติพันธุ์อื่นนอกจาก

                             ชาวมาเลย์ว่าเป็นพลเมืองชั้นสอง และอื่น ๆ ในที่สุด จึงเกิดการร่วมมือกันระหว่างพรรคฝ่ายค้าน
                             3 พรรคในนามของเครือข่าย PR หรือ Pakatan Rakyat เพื่อลงแข่งขันในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2008

                             และ เครือข่ายแนวร่วมฝ่ายค้าน PH หรือ Pakatan Harapan ซึ่งประกอบไปด้วย 4 พรรคการเมือง
                             ในปี ค.ศ. 2018 สภาวะทางการเมืองของมาเลเซียจึงมีลักษณะของระบบพรรคแนวร่วม 2 ฝ่าย

                             (2-coalition system) อันได้แก่ แนวร่วมฝ่ายรัฐบาลที่ครอบง�าการเมืองมานานนับตั้งแต่การได้รับ
                             เอกราชจากอังกฤษ และแนวร่วมฝ่ายค้านที่จัดตั้งเพื่อต่อต้านและเปลี่ยนแปลงการเมืองภายใน

                             ประเทศ


                                      จากการศึกษาในประเด็นเรื่องของระบบพรรคการเมือง พบว่าพรรคการเมืองของมาเลเซีย
                             นั้นมีลักษณะของการเป็นพรรคแนวร่วมเป็นส�าคัญ โดยที่การเข้าพวกเป็นเครือข่ายนั้นให้ประโยชน์
                             เชิงกลยุทธ์ในการแข่งขันทางการเมือง และเพิ่มความเข้มแข็งให้กับทั้งเครือข่ายและกับตัวพรรคนั้น ๆ

                             ด้วย ปัจจัยในเรื่องของความเป็นเอกภาพของพรรคจึงมีความส�าคัญในการก�าหนดทิศทางของ

                             พรรคร่วม ทั้งนี้แต่ละพรรคที่ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนั้นมีความยึดโยงกับปัจจัย
                             ทางชาติพันธุ์เป็นอย่างมาก น�าไปสู่ประเด็นเรื่องของความเป็นสถาบันทางการเมืองในพรรคการเมือง


                                      หากเปรียบเทียบ ในขณะที่ประเทศไทย และฟิลิปปินส์นั้นเผชิญหน้ากับประเด็นเรื่อง
                             ของความเป็นสถาบันทางการเมืองต�่าในพรรคการเมือง ด้วยเหตุผลว่า ประชาชนให้ความนิยม

                             ในตัวบุคคลมากกว่าที่จะสนใจในเรื่องของอุดมการณ์และนโยบาย ประเทศมาเลเซียกลับให้

                             ความสนใจการเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่ยึดโยงกับกลุ่มชาติพันธุ์ ฐานคะแนนเสียง
                             จึงมีประชากรที่มาจากชาติพันธุ์เป็นหลัก จากนั้นพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม
                             ชาติพันธุ์ (หรือในบางครั้งกลุ่มผลประโยชน์) จึงมาร่วมกันในเครือข่ายแนวร่วมเกิดเป็นพรรค

                             แนวร่วมเพื่อลงแข่งขันในการเลือกตั้ง
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79