Page 73 - kpiebook67039
P. 73
72 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
โครงสร้างการปกครอง 3 ฝ่ายของประเทศมาเลเซีย มีดังต่อไปนี้
ฝ่ายนิติบัญญัติ มี 2 สภา ได้แก่ 1) วุฒิสภา หรือสภาสูง มาจากการแต่งตั้งโดย
นายกรัฐมนตรีและการเลือกโดยสภานิติบัญญัติของทั้ง 13 รัฐ มีวาระ 6 ปี และ 2) สภาผู้แทน
ราษฎร ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จ�านวน 219 คน (เขตละ 1 คน) มีวาระ 5 ปี
ฝ่ายบริหาร มี 2 ส่วน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี ที่ได้รับการเลือกเข้ามาด�ารงต�าแหน่ง
จากการเลือกตั้งในทุก ๆ 5 ปี ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของมาเลเซียได้แก่ นายอันวาร์
อิบราฮิม คณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรจะถูกเลือกโดยนายกรัฐมนตรีให้ด�ารงต�าแหน่งรัฐมนตรี
ในกระทรวงต่าง ๆ
ฝ่ายตุลาการ เนื่องจากในอดีต มาเลเซียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ จนได้รับ
เอกราชในปี พ.ศ. 2500 จึงใช้กฎหมายจารีตประเพณี (Common law) ตามประเทศอังกฤษ
ยกเว้นเพียงศาลอิสลาม
4.2 ความเป็ นสถาบันและระบบพรรคการเมือง
ส�าหรับประเทศมาเลเซีย ประวัติศาสตร์ทางการเมืองสะท้อนให้เห็นการผูกขาดทาง
อ�านาจในการบริหารไว้ที่กลุ่มการเมืองเดียว BN หรือ Barisan Nasional เป็นพรรคแนวร่วม
(Coalition parties) ที่จดทะเบียนในฐานะพรรคการเมืองเดียว (Single party) ทว่าในความเป็นจริง
แล้ว กลับประกอบไปด้วยพรรคการเมืองตัวแทนชาติพันธุ์ต่าง ๆ จ�านวนกว่า 13 พรรคการเมือง
แต่เนื่องด้วยกลยุทธ์ทางการแข่งขันทางการเมืองและการเลือกตั้ง จึงตัดสินใจที่จะรวมพรรค
ในเครือข่ายเข้าไว้ภายใต้สถาบันของพรรคการเมืองเดียว ทั้งนี้ หนึ่งในเสาหลักส�าคัญของ BN คือ
พรรค UMNO (United Malays National Organisation) หรือพรรคที่ครอบง�าการเมืองมาเลเซีย
มาอย่างต่อเนื่อง จน ‘BN เป็นองค์กรทางการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด และมีเครือข่ายแน่นหนาที่สุด
นับตั้งแต่มาเลเซียเป็นรัฐเอกราช’ (ประจักษ์, 2563: 28)
โครงสร้างทางการเลือกตั้งเองก็เอื้อให้แก่พรรคใหญ่อย่าง BN ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบ
การตัดสินด้วยเสียงข้างมาก (First-past-the-post: FPTP) ที่ท�าให้พรรคการเมืองขนาดเล็ก
หรือพรรคการเมืองอิสระไม่มีบทบาท ไร้ซึ่งโอกาสที่จะแข่งขันทางการเลือกตั้ง หรือคณะกรรมการ
การเลือกตั้งของมาเลเซีย (Suruhanjaya Pilihan Raya Malaysia, SPR) ที่ถูกวิพากษ์ว่า
ขาดความเป็นอิสระและขาดความเป็นกลาง เนื่องจากตัวองค์กรนั้นขึ้นตรงต่อส�านักนายกรัฐมนตรี
และมาจากการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกันกับการจัดการสัดส่วนประชากรและ