Page 75 - kpiebook67039
P. 75
74 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
4.3 บริบทของระบบการศึกษาโดยทั่วไป
จากพลวัตทางการเมืองของประเทศมาเลเซียพบว่าในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2013
เริ่มเกิดกระแสการตื่นตัวของประชาชนคนรุ่นใหม่ขึ้น หลักฐานจากจ�านวนประชาชนที่ออกมา
ใช้สิทธิ โดยเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก และการเกิดขึ้นของเครือข่ายภาคประชาสังคมอย่าง
BERSIH ที่ส่วนมากเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ กระแสการตื่นตัวดังกล่าวนี้ น�ามาสู่ความสนใจในประเด็น
เรื่องของระบบการศึกษาของประเทศมาเลเซียว่ามีความเปิดกว้างต่อความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองของเยาวชนมากน้อยแค่ไหน เมื่อได้ท�าการค้นคว้าเพิ่มเติม พบว่าระบบการศึกษา
ของประเทศมาเลเซียถูกมองว่าเป็นเครื่องมือส�าคัญในการสร้างความสมัครสมานสามัคคีระหว่าง
ประชาชนที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย (Jamil, 2007) เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาการออกแบบ
หลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจึงเต็มไปด้วย
ความระมัดระวัง โดยหลักสูตรหรือรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับคุณค่า (Value) ทางสังคมและศาสนา
จะถูกจัดวางให้อยู่ในกรอบวิชาว่าด้วยจริยธรรมซึ่งเน้นเรื่องสังคมที่สมัครสมานสามัคคี มีคุณธรรม
และเป็นระเบียบเรียบร้อย (Mahmood, 2014: 5) ดังนั้นประเด็นเรื่องความเป็นพลเมืองและ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงไม่ได้รับอนุญาตให้สอนในระดับชั้นที่ต�่ากว่าระดับอุดมศึกษา
นอกจากนี้ในหลายกรณีกลับพบว่ามีการกีดกัดไม่ให้เยาวชนในระดับมหาวิทยาลัยเข้ามา
ยุ่งเกี่ยวทางการเมืองเสียด้วยซ�้า ดังในกรณีที่มหาวิทยาลัยด�าเนินการกับนักศึกษา 24 คนที่แสดงออก
ทางการเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (Fadzil, Ismail & Krauss, 2022: 150) หรือกรณีระเบียบ
ภายใต้กฎหมาย Universities and University Colleges Act 1971 (UUCA) โดยกระทรวง
การอุดมศึกษา (The Higher Education Ministry) เพื่อควบคุมและจ�ากัดการเข้าร่วมทางการเมือง
ของนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา (Sosiallis, 2022) ซึ่งภายใต้กฎหมายฉบับนี้
นักศึกษาไม่สามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง เป็นสมาชิกพรรค หรือแม้แต่แสดงออก
ทางการเมือง จากการมีอยู่ของกฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ ท�าให้นักศึกษาหลาย ๆ คนไม่กล้าที่จะเข้ามา
มีส่วนร่วมทางการเมือง ด้วยกลัวว่าตนเองนั้นจะถูกสอบวินัยหรือไล่ออกจากสถาบันการศึกษา
โครงสร้างทางการศึกษาที่ปิดกั้นท�าให้ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนนั้นอยู่ในระดับต�่า
แม้ว่าจ�านวนเยาวชนที่ออกมาใช้สิทธิและลงคะแนนเสียงจะอยู่ในเกณฑ์ที่สูง แต่การเข้าร่วมทาง
การเมืองในรูปแบบอื่นกลับน้อย ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ที่ถูกจ�ากัด มีเพียง
ช่องทางสื่อรูปแบบใหม่ที่เปิดพื้นที่ให้เยาวชนสามารถรับข่าวสารและแสดงความคิดเห็นของตนเอง
ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงค่านิยมและความเชื่อทางสังคมทั้งจากเยาวชนเองและจากผู้ใหญ่ เช่น
ความเชื่อที่ว่าผู้ใหญ่คือผู้ชี้แนะแนวทางให้แก่เด็ก หากปล่อยให้บทบาทของเยาวชนทางการเมือง
เพิ่มมากขึ้น ผู้ใหญ่ก็จะสูญเสียสถานะของผู้น�าทางและผู้ให้ความรู้ และในท้ายที่สุดเยาวชน
ก็จะกลายมาเป็นคู่แข่งทางสถานะทางสังคมของผู้ใหญ่ (Fadzil, Ismail, & Frauss, 2022: 152)