Page 76 - kpiebook67039
P. 76
75
จากการศึกษาบริบทโดยสังเขปนี้ กล่าวได้ว่าทั้งระบบ โครงสร้าง และค่านิยม ไม่เอื้อให้แก่
การศึกษาองค์ความรู้ทางสังคมการเมือง และการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนของประเทศมาเลเซีย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2013 ที่เริ่มมีกระแสการตื่นตัว
ของกลุ่มประชาชนที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศ ถอยห่างจากการครอบง�าของพรรคเดียว
เปิดโอกาสให้มาเลเซียเข้าสู่กระบวนการของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่เพิ่มมากขึ้น บรรยากาศ
ดังกล่าวนั้น เช่นเดียวกันส่งผลให้กลุ่มเยาวชนที่เคยนิ่งเฉยมานานเริ่มมีการตั้งค�าถาม และออกมา
เรียกร้องถึงเสรีภาพของเยาวชนทางการเมือง ดังในกรณีการประท้วงเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไข
กฎหมาย UUCA (Gooch, 2012)
4.4 องค์กรภาคประชาสังคมด้านการศึกษา
ด้วยสภาพบริบทของการศึกษาและการเมืองดังที่ได้กล่าวไป การท�างานขององค์กร
ภาคประชาสังคมทางด้านการศึกษาจึงเผชิญกับอุปสรรคเป็นอย่างมากในการกระตุ้นความตื่นตัว
ทางการเมืองในกลุ่มเยาวชน หลายองค์กรภาคประชาสังคมด้านการศึกษาของมาเลเซียมุ่งให้
ความสนใจกับการเข้าถึงการศึกษา กลุ่มชาติพันธุ์ และศาสนามากกว่าการผลักดันองค์ความรู้
ทางเสรีประชาธิปไตย กล่าวได้ว่าหลายองค์กรไม่ได้แตะประเด็นเรื่องทางสังคมการเมืองมากนัก
องค์กรภาคประชาชนด้านการศึกษา ได้แก่
The National Union of the Teaching Profession (NUTP)
องค์กรนี้ คือสหภาพของกลุ่มครู และอาจารย์ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการสอน การบริการ
ทางวิชาการ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อความเป็นอยู่ และคุณภาพที่ดีขึ้นของทั้งคณะอาจารย์
และการศึกษาในภาพรวม
Karhuney
องค์กรนี้มีสถานะเป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือทางด้านการศึกษาแก่เด็กที่ด้อย
โอกาส ผ่านการระดมทุนจากสมาชิกและสาธารณะ โดยเด็กด้อยโอกาสนั้นรวมไปถึงกลุ่มเปราะบาง
ที่เผชิญอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษา อาทิ คนพิการ และยังให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียน
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของนักเรียน ท�าให้การศึกษาสามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม
อย่างเท่าเทียม โดยกลุ่มนี้ให้ความสนใจแก่นักเรียนที่มีเชื้อสายจากอินเดียเป็นหลัก