Page 63 - kpiebook67039
P. 63

62     กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
                   ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy






                                 การออกแบบและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ


                                 แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

                         (1) ค�าถามทั่วไป (2) กลยุทธ์การน�าเกมเมืองจ�าลองประชาธิปไตยไปสู่การปฏิบัติโดยพรรคการเมือง
                         องค์กรภาคประชาสังคม และสถานศึกษาในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย (3) ปัจจัยเชิงบริบท

                         ที่ส่งผลต่อการจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง (4) กลยุทธ์การน�าเกม
                         สู่การปฏิบัติจริง แต่ละส่วนประกอบไปด้วยค�าถามหลักที่คณะผู้วิจัยใช้ในการสัมภาษณ์ ค�าถาม

                         เหล่านี้เป็นค�าถามปลายเปิด (Open-ended questions) ซึ่งก�าหนดไว้ล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม
                         ผู้วิจัยแต่ละคนสามารถขอให้ผู้ให้สัมภาษณ์อธิบายหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

                         ได้ด้วย การวิจัยครั้งนี้มีการเก็บข้อมูลจากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ดังนั้น แบบสัมภาษณ์
                         กึ่งโครงสร้างจึงมีทั้งภาษาไทย และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ


                                 การวิจัยครั้งนี้มีการตรวจสอบคุณภาพใน 2 มิติ ได้แก่ คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้

                         ในการวิจัย (Quality of research instruments) และคุณภาพของผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Quality
                         of findings) คณะผู้วิจัยตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยพิจารณาทั้งการออกแบบ และ

                         กระบวนการใช้เครื่องมือ การออกแบบแบบสัมภาษณ์เชิงลึกมีฐานคิดคือการตั้งค�าถามที่ล้อกันกับ
                         กรอบทฤษฎีและค�าถามวิจัยเพื่อให้แน่ใจได้ว่าการสัมภาษณ์จะได้ข้อมูลที่ตอบค�าถามวิจัยในภาพรวม

                         และในขณะเดียวกันก็มีฐานทางทฤษฎีรองรับ ในแง่กระบวนการ หลังจากการสัมภาษณ์น�าร่อง
                         คณะผู้วิจัยได้ปรับเปลี่ยนล�าดับค�าถามและถ้อยความให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คณะผู้วิจัยตรวจสอบ

                         คุณภาพของผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสังเคราะห์แนวทางของ Guba and Lincoln (1994) Tracy
                         (2010) และ Connelly (2016) โดยสร้างรายการตรวจสอบ (Checklist) ดังที่แสดงในตารางข้างล่างนี้


                                 ตารางที่ 3.1  เกณฑ์ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล


                                    รายการ                                  นิยาม


                          ความน่าเชื่อถือ              ข้อมูลที่ได้มาสอดคล้องกับข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์

                          การตรวจสอบข้อมูลโดยอ้างอิง   การตรวจสอบวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลในบริบทที่ต่างกัน

                          หลายบริบท

                          ประโยชน์ที่ได้รับจากผลการศึกษา ผลการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในรูปแบบคล้ายกัน

                          การวิพากษ์ฐานคติของผู้วิจัย  คณะผู้วิจัยตรวจสอบฐานคิดทางทฤษฎีของตนเอง


                         ที่มา: สังเคราะห์จาก Guba and Lincoln (1994); Tracy (2010) และ Connelly (2016)
                         โดยคณะผู้วิจัย
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68