Page 62 - kpiebook67039
P. 62
61
3.3 การออกแบบงานวิจัยและวิธีวิจัย
เกณฑ์การเลือกกรณีศึกษา (Case study)
เหตุผลในการเลือกกรณีศึกษา 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย
และประเทศไทย ประกอบด้วย 4 ประการ ดังต่อไปนี้
ประการแรก คณะผู้วิจัยประยุกต์ใช้ตรรกะในการเลือกกรณีศึกษาแบบ the most-
similar systems design หมายถึง การเลือกกรณีศึกษาที่คล้ายกันยกเว้นแต่ประเด็นที่ถูกศึกษา
ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณีศึกษา (Anckar, 2020: 34) ตามนัยนี้ความแตกต่างระหว่าง
กรณีศึกษาที่คณะผู้วิจัยสนใจคือความแตกต่างของกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริม
ทักษะความเป็นพลเมืองในสามประเทศ ข้อดีของการเลือกด้วยตรรกะนี้คือการลดปัญหา
การเปรียบเทียบกรณีศึกษาที่แตกต่างกันมากเกินไป ซึ่งหมายถึง การพิจารณาผลของปัจจัย
หลายประการที่อาจท�าให้ไม่ได้ค�าอธิบายที่ชัดเจนถึงผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์ที่ศึกษา
อย่างแท้จริง
ประการที่สอง เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ คณะผู้วิจัยเลือก
เกมจ�าลองเมืองประชาธิปไตย (Sim Democracy) ซึ่งเป็นบอร์ดเกมที่ได้รับการน�าไปใช้ในประเทศ
ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย กล่าวคือ มีองค์กรที่เกี่ยวข้องในทั้งสามประเทศที่มีประสบการณ์
ในการใช้เกม Sim Democracy ในประเทศฟิลิปปินส์ Liberal Youth (LY) ได้น�าเกม Sim Democracy
ไปใช้ในกิจกรรมการรับสมัครคนเข้ามาในกลุ่ม ในประเทศมาเลเซีย พรรค People’s Justice
Party (PKR) ได้น�าเกม Sim Democracy ไปใช้ในการฝึกอบรมผู้น�าของพรรค และในประเทศไทย
พรรคการเมือง หน่วยงานรัฐ และโรงเรียนจ�านวนมากได้น�าเกม Sim Democracy ไปใช้
ประการที่สาม ระดับการพัฒนาประชาธิปไตยของทั้งสามประเทศในภาพรวมยังอยู่ใน
กลุ่มเดียวกัน สอดคล้องกับเกณฑ์การคัดออก (Exclusion criteria) ประเทศที่ระบอบประชาธิปไตย
ลงหลักตั้งมั่น
ประการที่สี่ การเข้าถึงแหล่งข้อมูล คณะผู้วิจัยได้พิจารณาแล้วว่าการเก็บข้อมูล
ทั้งจากเอกสาร และจากผู้ให้ข้อมูลส�าคัญในทั้งสามประเทศเป็นไปได้ เข้าถึงได้และเพียงพอ
ต่อการน�าข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาเอกสารประกอบกับการสัมภาษณ์
เชิงลึก โดยการสัมภาษณ์จะใช้ตัวแทนอย่างน้อยประเทศละ 6 คน หรือจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัว