Page 65 - kpiebook67039
P. 65
64 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
สาระส�าคัญ (Theme) ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป กลยุทธ์การน�าเกมไปใช้โดยองค์กรต่าง ๆ ปัจจัยเชิงบริบท
ที่ส่งผลต่อการวางกลยุทธ์ และการน�ากลยุทธ์ไปใช้จริง ขั้นตอนต่อมาเป็นการระบุคุณสมบัติของ
ผู้ที่จะให้สัมภาษณ์หรือผู้ที่ถูกมองว่ามีข้อมูลส�าคัญที่จะช่วยตอบค�าถามในการวิจัย จากนั้นก็ท�า
การติดต่อกับผู้ประสานงานขององค์กรที่ต้องการจะเข้าไปสัมภาษณ์ (Organizational gatekeeper)
แจ้งวัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์ ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้พิจารณา และท�าการนัดหมาย ในขณะเดียวกัน
คณะผู้วิจัยก็ศึกษาเอกสารในเรื่องการน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ผ่านทั้งเอกสารที่เข้าถึงได้
ในรูปแบบออนไลน์ และสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ นอกจากนี้คณะผู้วิจัยก็ศึกษาเอกสารที่ฉายภาพ
บริบททางสังคมและการเมือง ตลอดจนนโยบายการศึกษา และหลักสูตรด้านหน้าที่พลเมืองของ
แต่ละประเทศ อีกทั้งศึกษาข้อมูลและภูมิหลังของหน่วยงานหรือองค์กรที่จะเข้าไปท�าการสัมภาษณ์
ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการตั้งค�าถามเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากที่คณะผู้วิจัยได้เตรียมไว้
ล่วงหน้าในแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง อนึ่งเพื่อให้สมาชิกทุกคนของคณะผู้วิจัยเกิดความเข้าใจ
ตรงกันในเรื่องวัตถุประสงค์และแนวทางในการสัมภาษณ์ ได้มีการจัดประชุมเตรียมความพร้อม
ก่อนลงพื้นที่เก็บข้อมูลจริงผ่านระบบการประชุมออนไลน์
ทั้งนี้คณะผู้วิจัยก�าหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลส�าคัญไว้ 2 ข้อดังนี้ ประการแรก
ผู้ให้ข้อมูลจะต้องเคยมีประสบการณ์การน�าเกม Sim Democracy ไปใช้หรือวางแผนจะน�าเกม
ไปใช้ ประการที่สอง ผู้ให้ข้อมูลจะต้องสามารถให้ข้อมูลที่ครอบคลุมทั้ง 3 องค์กรที่งานวิจัยนี้สนใจ
ได้แก่ พรรคการเมือง สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม
ขั้นตอนที่สองเป็นขั้นตอนของการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง นั่นคือ การเข้าสัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลส�าคัญ โดย คณะผู้วิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามดังนี้
• ประเทศมาเลเซีย: 26 – 28 พฤศจิกายน 2565
• ประเทศฟิลิปปินส์: 30 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2565
• ประเทศไทย: 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2566
ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้แจ้งผู้ให้ข้อมูลในเรื่องการยินยอมเข้าร่วมการวิจัยและขออนุญาต
บันทึกเสียง