Page 66 - kpiebook67036
P. 66
65
ขณะเดียวกัน ในแง่ของอุดมการณ์ทางการเมืองการปกครอง สวีเดนได้รับอิทธิพลจาก
คริสต์ศาสนา ทั้งทางวัฒนธรรมและในทางการเมือง จากการที่มีคนสวีดิชไปศึกษาที่มหาวิทยาลัย
ในต่างแดนและน�าเอาแนวคิดใหม่ๆ กลับมาสวีเดน โดยเฉพาะแนวคิดทางการเมืองที่ให้มีการแบ่งสรร
และร่วมใช้อ�านาจกันระหว่างกษัตริย์ อภิชนและแม้แต่สามัญชนในอาณาจักรสแกนดิเนเวียในตอนปลาย
ยุคกลาง และพัฒนาการของการเกิดสภาในอาณาจักรในยุโรปในยุคกลางได้เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิด
แนวคิดเรื่องตัวแทนทางการเมือง (political representation) ซึ่งเชื่อมโยงอย่างยิ่งกับการริเริ่มใช้กฎหมาย
โรมันและกฎหมายศาสนจักร (canon law) และอาจจะได้รับแรงบันดาลใจจากการจัดการที่คล้ายๆ กัน
เกี่ยวกับการจัดองค์กรของศาสนจักร ก้าวส�าคัญของพัฒนาการแนวคิดตัวแทนทางการเมืองนี้เกิดจาก
การริเริ่มแนวคิดเรื่อง communitas ที่มีนัยหมายถึง ชุมชนแห่งคนพวกเดียวกัน (community of fellowship)
ซึ่งถูกน�ามาใช้ในสังคมสวีเดนในตอนต้นศตวรรษที่สิบสี่ และในที่สุด communitas ถูกใช้ในความหมาย
ของค�าส�าหรับคนชั้นที่สามที่ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ของสังคม (the unprivileged third order of society) นั่นคือ
สามัญชน ขณะเดียวกันก็ยังหมายถึงประชาชน ทั้งมวลโดยรวมด้วย การมารวมกันเป็นกลุ่มในความหมาย
ของ communitas regni หรือ ชุมชนแห่งอาณาจักร (the community of the realm) โดยมีความหมาย
ที่เชื่อมต่อกับองค์การเมือง (political body) ของอาณาจักรโดยรวม ที่รวมการใช้อ�านาจของกษัตริย์และ
อภิชน ทั้งทางโลกและทางจิตวิญญาณ ที่จะต้องมีความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นตัวแทนของประชาชน
รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองนี้ได้ถูกท�าให้เกิดขึ้นจริงในอาณาจักรสแกนดิเนเวีย แม้จะไม่มีตัวแทน
ของอ�านาจผ่านการเลือกตั้ง แต่เป็นการผ่านการยอมรับโดยดุษณี (quite acceptance) ว่า คนที่ดีที่สุด
ของอาณาจักร (the best men of the kingdom) เป็นตัวแทนของทั้งอาณาจักรและคนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ 167
กฎหมายศาสนจักรและแบบแผนการปฏิบัติของการจัดองค์กรของศาสนจักรมีบทบาทส�าคัญยิ่ง
ในพัฒนาการของสภาตัวแทน และมีบทบาทต่อพัฒนาการรูปแบบการปกครองแบบผสมด้วย จุดเริ่มต้น
คือ สถานะจุดยืนของการรวมตัวเป็นสมาคมในกฎหมายโรมัน ที่หลักการส�าคัญที่ถูกน�ามาใช้คือ “อะไรที่มี
ผลต่อทุกคน จะต้องได้รับการยอมรับอนุมัติจากทุกคน” ในช่วงปลายยุคกลาง ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้ว
ข้างต้น ทั้งศาสนจักรและองค์กรการเมืองทางโลกถูกถือว่าเป็นการรวมเป็นสมาคมเดียวกัน อันน�าไปสู่
การพัฒนาทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้น�าหรือผู้ปกครองของสมาคมและสมาชิกของ
สมาคมหรือพสกนิกร โดยเฉพาะ ในกฎหมายศาสนจักร ซึ่งนักกฎหมายศาสนจักรมีความกังวลว่า สันตะปาปา
อาจจะล้มเหลว ดังนั้น พวกเขาจึงเห็นความจ�าเป็นที่จะต้องมีสถาบันอื่นที่พร้อมที่จะเป็นตัวแทนของ
ศาสนจักรทั้งหมด ทางออกคือ การให้มีสภาทั่วไป (a general council) ที่อยู่เหนือสันตะปาปา หากเกิด
ในข้อสงสัยเกี่ยวกับความศรัทธา ผลที่ตามมาคือ สันตะปาปาจะเป็นผู้มีอ�านาจมากได้ หากพระองค์ปฏิบัติ
การร่วมกับสภาและไม่ใช้อ�านาจเองล�าพัง ท�าให้ในเวลาต่อมา นักกฎหมายศาสนจักรได้อ้างว่า ผู้ปกครอง
ยิ่งใหญ่กว่าปัจเจกบุคคลใดๆ แต่น้อยกว่าผลรวมของปัจเจกบุคคลทุกคน และนักกฎหมายศาสนจักร
Companion to the History of Democracy: From Pre-history to Future Possibilities (Edinburgh: Edinburgh
University Press, 2012), p. 148.
167 Frode Hervik, “The Nordic Countries,” in Benjamin Isakhan and Stephen Stockwell (editors), The Edinburgh
Companion to the History of Democracy: From Pre-history to Future Possibilities (Edinburgh: Edinburgh
University Press, 2012), pp. 148-149.