Page 63 - kpiebook67036
P. 63

62      ประเพณีการปกครองของสวีเดน: สภาท้องถิ่น (ting), สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์ และเสรีภาพ
                    และปกครองตนเองของชาวนา (the Many)




                      แต่กระนั้น เมื่อสังคมสวีเดนพัฒนามาถึงต้นยุคสมัยใหม่ บทบาทของ ting ที่เป็นพื้นที่ของ

             คนส่วนมากที่เป็นตัวแสดงทางการเมืองตัวหนึ่งในการเมืองไตรภาคีการเมืองของสวีเดนก็ลดน้อยถอยลงไป
             และบทบาทของตัวแสดงอีกสองตัวก็จะเพิ่มมากขึ้นในเวทีการเมืองของสวีเดน นั่นคือ กษัตริย์และอภิชน

             และสิทธิ์อ�านาจที่ชาวนาเคยมีในที่ประชุม ting หรือ landslag ได้เคลื่อนตัวไปสู่การประชุมสภาฐานันดร
             ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ดี การที่สังคมสวีเดนมี ting เป็นรากฐานส�าคัญในทางจารีตประเพณี แม้ว่า

             บทบาทจะลดน้อยถอยลงไป แต่กระนั้นก็มิได้หายไปจากพื้นที่ทางการเมืองของสวีเดนไปเลยเสียทีเดียว
             หากเป็นรากฐานที่ส�าคัญส�าหรับการพัฒนาประชาธิปไตยของสวีเดน มีนักวิชาการที่ถกเถียงกันมาก

             เกี่ยวกับ ting ในฐานะที่เป็นองคาพยพทางสังคมการเมืองที่มีความใกล้เคียงกับความเป็นประชาธิปไตย
             ที่มีมาก่อนที่จะเกิดสถาบันประชาธิปไตยในแบบสมัยใหม่อย่างที่รับรู้ในปัจจุบัน และนักวิชาการที่ศึกษา

             การเมืองการปกครองสวีเดนอย่าง Ingvar Anderson และ Sigurdur Lindal และคนอื่นๆ มักจะหยิบยก
             ประเด็นเรื่อง ting ขึ้นมาเพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า การที่ประเทศสวีเดนและประเทศในแถบสแกนดิเนเวียประสบ

             ความส�าเร็จ ในการมีการเมืองการปกครองที่มั่นคงและมีเสถียรภาพภายใต้รูปแบบการปกครองที่เรียกว่า
             การปกครอง แบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญได้ก็เพราะมีรากฐานส�าคัญมาตั้งแต่โบราณกาลที่เรียกว่า

             ting ที่เปิดพื้นที่ให้ตัวแสดงที่เป็นคนส่วนมากสามารถมีส่วนร่วมและแสดงออกทางการเมือง   ถือว่า
                                                                                               159
             เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมืองโบราณของสวีเดน หรืออย่างในกรณีของ Roger D. Congleton

             ชี้ให้เห็นว่า จากการที่กษัตริย์ในยุคแรกๆ ของสวีเดนและประเทศในยุโรปเหนือมักจะต้องผ่านการเลือก
             จาก tings (ting, lagting, or althing) ที่เป็นที่ประชุมที่เป็นทางการ จึงอาจกล่าวได้ว่า ting เป็นที่ประชุม

             ที่น่าจะถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นแรกเริ่มที่สุดที่จะน�าไปสู่การมีรัฐสภาของสวีเดนในเวลาต่อมา และ
             Congleton ได้อ้างงานของ Petersson ว่า ting ถือเป็นองค์ประชุมที่มีการตัดสินใจร่วมกัน   และถ้าจะกล่าว
                                                                                        160
             จากมุมมองของรัฐศาสตร์สมัยใหม่ ting คือที่ประชุมที่ท�าหน้าที่ทั้งนิติบัญญัติและตุลาการ มีการประชุม
             ที่มีการปรึกษาหารือถกเถียงเป็นประจ�าสม�่าเสมอในทุกช่วงๆ เวลา เพื่อตัดสินข้อพิพาท พิพากษาผู้ละเมิด




             159   Ingvar Anderson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia,” in Scandinavian Democracy: Development
             of Democratic Thought and Institutions in Denmark, Norway and Sweden (Copenhagen: Schultz, 1958),

             pp. 73-93 และ Sigurdur Lindal, “Early Democratic Traditions in the Nordic Countries,” in Nordic Democracy:
             Ideas, Issues, and Institutions in Politics, Economy, Education, Social and Cultural Affairs of Denmark,
             Finland, Iceland, Norway, and Sweden, editorial board: Erik Allardt, Nils Andren, Erik J. Friis, Gylfi p. Gislason,
             Sten Sparre Nilson, Henry Valen, Frantz Wendt, Folmer Wisti (Copenhagen: Det Danske Selskab, 1981), pp.
             15-43.
             160   Ingvar Anderson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia,” in Scandinavian Democracy: Development
             of Democratic Thought and Institutions in Denmark, Norway and Sweden (Copenhagen: Schultz, 1958),

             pp. 73-93 และ Sigurdur Lindal, “Early Democratic Traditions in the Nordic Countries,” in Nordic Democracy:
             Ideas, Issues, and Institutions in Politics, Economy, Education, Social and Cultural Affairs of Denmark,
             Finland, Iceland, Norway, and Sweden, editorial board: Erik Allardt, Nils Andren, Erik J. Friis, Gylfi p. Gisla-
             son, Sten Sparre Nilson, Henry Valen, Frantz Wendt, Folmer Wisti (Copenhagen: Det Danske Selskab, 1981),
             pp. 15-43.
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68