Page 71 - kpiebook67036
P. 71

70      ประเพณีการปกครองของสวีเดน: สภาท้องถิ่น (ting), สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์ และเสรีภาพ
                    และปกครองตนเองของชาวนา (the Many)




             ท�าไมชาวนาสวีเดนเป็นชาวนาในยุโรปที่เดียวที่เป็นอิสระ?



                     ในงานของ Moberg อธิบายว่า ชาวนาส่วนใหญ่ในยุโรปอยู่ในสภาพของไพร่ทาสในระบบศักดินา

             และมักจะอาศัยอยู่ในที่ดินที่มีทางตัดผ่านเข้าถึง ท�าให้พวกอภิชนสามารถเข้าไปควบคุมและขูดรีดเก็บเกี่ยว
             ผลประโยชน์จากชาวนาได้ แต่สวีเดน นอร์เวย์และสวิสเซอร์แลนด์เป็นกรณียกเว้นที่ชาวนาไม่ได้เป็น

             ทาสติดที่ดิน (serfdom) เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ชาวนาสวีเดนอาศัยอยู่บนที่ดินที่กระจัดกระจายจากกัน
             ในป่าที่รกชัฏ และสภาพป่าดังกล่าวนี้เองที่เป็นเกราะป้องกันไม่ให้พวกอภิชนเข้าถึงได้ง่าย และตราบเท่าที่

             ยังไม่มีทางหรือถนนตัดเข้าไปในป่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในสภาพเช่นนั้นก็จะมีความปลอดภัย ในป่าทึบ
             ของสวีเดนที่ไม่มีทางเข้าไป ผู้ที่พยายามบุกรุกเข้าไปจะหลงป่าในที่สุด และในสภาพดังกล่าว จะมีชาวนา

             แอบซุ่มอยู่หลังสุมทุมพุ่มไม้พร้อมคันธนู ชาวนาสวีเดนจะรู้จักหินทุกก่อน เนินเขา ซอกเล็กซอกน้อยในป่า
             และรู้ว่าจะโจมตีตรงไหนในเวลาไหน หากการโจมตีไม่ส�าเร็จ พวกเขาก็จะหายตัวไปได้อย่างรวดเร็ว

             และรอเวลาที่จะหาโอกาสกลับมาโจมตีได้อย่างไม่ต้องรีบร้อน ตลอดระยะเวลาหลายศตวรรษ
             ชาวนาสวีเดนปรับตัวได้อย่างดีกับการใช้ชีวิตในป่า นอกจากการจับปลา ปล้นสะดม ล่าสัตว์แล้ว

             พวกเขายังท�านาท�าไร่ขนาดเล็ก รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นทรัพยากรหลักของพวกเขา และไม่มีใคร
             ถือครองที่ดินเป็นของตัวเอง เพราะพวกเขาถือว่า ป่าเป็นของส่วนรวมของทุกคน ตามภาษิตสวีดิชที่ว่า

             “ป่าอุดมสมบูรณ์ส�าหรับทั้งคนรวยและคนจน” ป่าคือสวนของคนจน คนที่อาศัยอยู่ในป่ามักจะอยู่ตามล�าพัง
                                         174
             และมีเพื่อนบ้านไม่กี่คนเท่านั้น   ขณะเดียวกัน สวีเดนเป็นประเทศแรกของยุโรปที่มีการออกกฎหมาย
             การเลิกทาสอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1337 อันเป็นหลักประกันที่ท�าให้ไม่มีการเอาคนลงไปเป็นทาสได้
             (enslavement)  175





             การลุกฮือหรือกบฏชาวนาในสวีเดน



                      Dag Retsö ได้อธิบายการลุกฮือของชาวนาสวีเดนในประวัติศาสตร์การเมืองสวีเดนว่า เกิดจาก

             สาเหตุส�าคัญสองประการ นั่นคือ  176


                      หนึ่ง ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการเลือกหรือการถอดถอนกษัตริย์


                      สอง ปัญหาเกี่ยวกับการเก็บภาษี อันมีรากฐานมาจากสิทธิ์ตามจารีตประเพณีการปกครอง
             ดั้งเดิมที่ด�ารงอยู่ในที่ประชุม ting



             174   Vilhelm Moberg, A History of the Swedish People: Volume I From Prehistory to the Renaissance, foreword
             by Gunnar Myrdal, translated by Paul Britten Austin (Minneapolis: University of Minnesota Press, 2005), pp. 36-37.
             175   Hans Brems, “Sweden: From Great Power to Welfare State,” Journal of Economic Issues, Vol. 4, 2/3

             (1970): 1.
             176   Dag Retsö, “No Taxation without Negotiation,” Scandinavian Journal of History, Vol. 42, 4 (2017): 438-458.
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76