Page 72 - kpiebook67036
P. 72

71





                          การลุกฮือของชาวนาถือเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงความขัดแย้งตึงเครียดทางสังคม

                  ในยุคกลางของยุโรป กระนั้น ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ประมาณปี ค.ศ. 1501 จนถึงช่วงก่อนการขึ้น
                  ครองราชย์ของ Gustav Vasa ในปี ค.ศ. 1523) แม้ว่าชาวนากลายเป็นกลุ่มที่ต้องแบกรับภาระทางภาษี

                  ของประเทศ จากการเข้าสู่สงครามของสวีเดนกับเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1501 ทั้งยังประสบปัญหาทาง
                  การเกษตรที่มีบันทึกไว้ระหว่างปี ค.ศ. 1503-1516 แต่กลับไม่มีการลุกฮือของชาวนาสวีเดนในช่วงเวลา

                  ดังกล่าวเลย จากการศึกษาของ Dag Retsö ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ท�าให้ชาวนาสามารถปรับตัวรับมือกับ
                  สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมดังกล่าว ทั้งนี้ Dag Retsö ได้ปรับใช้แนวคิดของ Peter Blickle

                  เป็นกรอบในการท�าความเข้าใจว่า กลุ่มชาวนาที่ประสบความเดือดร้อนไม่ว่าจะด้วยเหตุใด สามารถเลือกใช้
                  เครื่องมือที่หลากหลายในการรับมือกับสถานการณ์ ตั้งแต่การร้องทุกข์ กาปฏิเสธไม่ท�าตาม การเจรจา

                  การใช้ความรุนแรง จนไปถึงการสร้างสัญญาประชาคมใหม่ขึ้น  177


                          ย้อนกลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 15 กลุ่มชาวนาซึ่งเป็นฐานภาษีส่วนใหญ่ของอาณาจักรประสบ
                  ความส�าเร็จในการลดอัตราภาษีทั่วไปให้ต�่าจากการลุกฮือที่น�าโดย Engelbrekt หรือที่เรียกว่า Engelbrekt

                  Uprising (ระหว่าง ค.ศ. 1434-1439) เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดกระบวนการสองประการที่ลดขนาด
                  ทางการคลังของแผ่นดิน หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลดสถานะการคลังของสถาบันกษัตริย์ ประการที่หนึ่งคือ

                  การท�าลายปราสาทจ�านวนมาก ซึ่งท�าให้ลดรายจ่ายลง ประการที่สอง คือการแจกจ่ายที่ดินแก่ขุนนางอภิชน
                  เพื่อกระจายอ�านาจและภาระในการปกครอง และด้วยข้อจ�ากัดทางการเมืองข้างต้นและความต้องการ

                  ทรัพยากรในการท�าสงครามในปี ค.ศ. 1501 ท�าให้สวีเดนเลือกที่จะจัดเก็บภาษีพิเศษซึ่งเป็นสิทธิ์เฉพาะ
                  ของกษัตริย์แทนการขึ้นภาษีทั่วไป แต่เมื่อสงครามกินเวลายาวนาน ภาษีพิเศษดังกล่าวจึงไม่ได้มีลักษณะ

                  จัดเก็บชั่วคราวในสายตาของกลุ่มชาวนา  178

                          ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 การใช้ความรุนแรงและการขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงของชาวนา

                  เพื่อต่อต้านการเก็บภาษีพิเศษได้เกิดขึ้นบ้างประปราย แต่ไม่ได้ขยายเป็นวงกว้าง อย่างไรก็ดี ด้วยกฎหมาย
                  ที่ระบุว่าการจัดเก็บภาษีพิเศษจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียภาษีจาก ting และด้วยอ�านาจการต่อรอง

                  ของกลุ่มชาวนาที่มีสูงขึ้น นับตั้งแต่การลุกฮือ “Engelbrekt Uprising” ท�าให้ชาวนาเลือกที่เจรจาและ
                  ตั้งเงื่อนไขกับพวกอภิชนหรือตัวแทนของรัฐที่ท�าหน้าที่เก็บภาษี โดยการต่อรองและตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับ

                  การจ่ายภาษี ได้แก่ การจ่ายภาษีเป็นเงินตราแทนสิ่งของ การขอยกเว้นภาษีในอนาคตและการลดภาระ
                  ทางภาษี โดยเพิ่มจ�านวนสมาชิกที่ต้องจ่ายภาษีร่วมกัน การยกเลิกเก็บภาษีโดยพลการ และการยืนยัน

                  ความถูกต้องของการเก็บภาษีผ่านหนังสือจากผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์หรือการเรียกร้องให้ผู้ส�าเร็จ
                  ราชการแทนพระองค์เดินทางมาเจรจากับกลุ่มชาวนา    179







                  177   Dag Retsö, “No Taxation without Negotiation,” Scandinavian Journal of History, Vol. 42, 4 (2017): 438-458.
                  178   Dag Retsö, “No Taxation without Negotiation,” Scandinavian Journal of History, Vol. 42, 4 (2017): 438-458.
                  179   Dag Retsö, “No Taxation without Negotiation,” Scandinavian Journal of History, Vol. 42, 4 (2017): 438-458.
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77