Page 151 - kpiebook67026
P. 151
150 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
การรับรองเพศสภาพกรณีผู้ลี้ภัย/ผู้อพยพ
ส�าหรับผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นบุคคลข้ามเพศในประเทศมอลตานั้น กฎหมายได้ก�าหนดให้
การเข้าถึงในกระบวนการรับรองเพศสภาพของผู้ลี้ภัยเป็นไปโดยง่าย โดยผู้ลี้ภัยที่เข้ามา
ในประเทศมอลตาสามารถประกาศว่าตนเองเป็นบุคคลข้ามเพศ และมีความประสงค
ที่จะได้รับการรับรองเพศสภาพในทางกฎหมาย เจ้าหน้าที่ย่อมมีหน้าที่ในการรับ
จดทะเบียนรับรองเพศสภาพตามความประสงคของบุคคลนั้น ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐอื่น ๆ ควรด�าเนินการในลักษณะดังกล่าวด้วย ผลจากการส�ารวจ
157
กฎหมายรับรองเพศสภาพ ส่วนใหญ่แล้วจะก�าหนดให้บุคคลซึ่งมิใช่ประชากรของรัฐนั้น ๆ
สามารถเข้าถึงกระบวนการรับรองเพศสภาพได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การยอมรับสิทธิ
ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับกรณี refugees แต่ส�าหรับกรณี asylum seeker นั้นพบว่า
158
รัฐต่าง ๆ มิได้ให้การรับรองสิทธิดังกล่าวแก่ asylum seeker โดยอัตโนมัติ
ดังเช่น กรณีของประเทศมอลตา ให้การรับรองสิทธิในอัตลักษณทางเพศแก่ refugee
เท่านั้น โดยคณะกรรมการว่าด้วยผู้อพยพลี้ภัย (The Commissioner for Refugees
จะต้องบันทึกชื่อและเพศสภาพตามเจตจ�านงของ refugee ในใบค�าร้อง asylum
application form และเอกสารการคุ้มครองสิทธิ (protection certificate) ภายใน
159
15 วัน
4.1.3 ประเทศไอซ์แลนด์
ประเทศไอซแลนดให้การรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพโดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน
ของการก�าหนดเจตจ�านงทางเพศสภาพของบุคคล (Self-determination) ด้วยการให้
160
ความคุ้มครองบุคคลจากการกระบวนการแทรกแซงหรือการตรวจสอบในทางการแพทย
157 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.34.
158 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.35.
159 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.36.
160 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.11