Page 150 - kpiebook67026
P. 150
149
จะมีความแตกต่างไปจากเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้ช่องทางเดียวกับกระบวนการ
154
ส�าหรับบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วนั่นเอง หากพิจารณาจากรายงานวิจัยเปรียบเทียบ
กระบวนการรับรองเพศสภาพของกฎหมายในประเทศมอลตากับประเทศอื่น ๆ แล้ว
จะพบว่า ประเทศมอลตามีความโดดเด่นตรงที่เป็นกระบวนการที่เข้าถึงง่าย และท�าให้
หลักผลประโยชนที่ดีที่สุดส�าหรับเด็กและสิทธิที่จะได้รับฟังของเด็กเกิดขึ้นได้อย่าง
155
ชัดเจน
การรับรองเพศสภาพของกลุ่มบุคคล Non-binary
ในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นนั้น การระบุเพศ X ในประเทศมอลตา แม้ได้กระท�า
ในเอกสารเรื่องหนึ่งแล้ว ก็มิได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพศในเอกสารทางราชการ
อย่างอื่นโดยอัตโนมัติ แต่เป็นเรื่องที่บุคคลต้องยื่นค�าร้องขอเปลี่ยนแปลงเพศต่อ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น ในบัตรประชาชน หนังสือการเดินทาง
156
หรือแม้กระทั่งใบอนุญาตให้พักอาศัยในประเทศจะระบุเพศ X แล้วก็ตาม แต่หากไม่ได้
ด�าเนินการในเรื่องใบขับขี่แล้วด้วยนั้น ใบขับขี่ของผู้นั้นก็จะไม่ปรากฏข้อมูลเพศ
ดังกล่าว นอกจากนั้น ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาก็คือ เมื่อบุคคลดังกล่าวต้องเข้าไป
เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านสุขภาพที่ก�าหนดพื้นที่บริการไว้ส�าหรับเพศใดเพศหนึ่ง
เป็นการเฉพาะ บุคคลที่ระบุเพศ X ย่อมต้องพบอุปสรรคมากกว่าบุคคลข้ามเพศ
และบุคคลอินเตอรเซ็ก (Intersex) ที่ระบุเพศของตนในระบบเพศชายและหญิง เช่น
การเข้าใช้บริการด้านนรีแพทยของหญิงที่ข้ามเพศเป็นชาย (Trans men) ซึ่งในเรื่องนี้
จึงเป็นที่มาว่าเพราะเหตุใดประเทศมอลตาจึงออกกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติให้
ครอบคลุมถึงอัตลักษณทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และคุณลักษณะทางเพศ
เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่เอกชน (Malta’s Gender
Identity, Gender Expression and Sex Characteristics Act 2015) หรือที่เรียกว่า
GIGESC Act
154 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.30.
155 Richard Köhler, Self-determination models in Europe: Practical experiences.
TGEU, 2022, p.31.
156 Lena Holzer, Non-Binary gender registration models in Europe report on third
gender marker or no gender marker options, (ILGA Europe, 2018), p.18.