Page 149 - kpiebook67026
P. 149

148     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์




                   4.1.2 ประเทศมอลตา

                   การรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพของบุคคลในประเทศมอลตา เป็นไป
            ตามมาตรา 3 (4) ของกฎหมายว่าด้วยอัตลักษณทางเพศ การแสดงออกทางเพศ

            และคุณลักษณะทางเพศ ค.ศ. 2015 ซึ่งได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า บุคคลจะต้อง
            ไม่ถูกบังคับให้ต้องพิสูจนเพศสภาพของตนด้วยกระบวนการผ่าตัดแปลงเพศทั้งหมด

            หรือบางส่วน รวมถึงการรักษาด้วยวิธีการใช้ฮอรโมนหรือการรักษาทางจิตเวชอื่น ๆ
            หรือการรักษาทางการแพทยอื่น ๆ เพื่อเป็นเงื่อนไขในการใช้สิทธิในอัตลักษณทางเพศ


                   ตามกฎหมายของประเทศมอลตา ก�าหนดให้การใช้สิทธิในการยื่นค�าร้องต่อ
            ฝ่ายปกครองเพื่อขอแก้ไขใบสูติบัตรของบุคคลกรณีทั่วไปนั้น จะสามารถกระท�าได้

            ก็แต่โดยบุคคลนั้นมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ มาตรา 8 (1) อย่างไรก็ตาม หากบุคคลนั้น
            เป็นผู้เยาว (Minor) ที่มีอายุต�่ากว่า 16 ปี (มาตรา 2) หากประสงคจะมีการเปลี่ยนแปลง

            เพศก็จะต้องด�าเนินการตามบทบัญญัติในมาตรา 7 ของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งก�าหนดไว้ว่า
            การยื่นค�าร้องขอเปลี่ยนแปลงเพศของผู้เยาวนั้นจะต้องด�าเนินการโดยบิดามารดา

            หรือผู้ปกครองในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เยาว โดยจะต้องยื่นค�าร้องไปยังศาลแพ่ง
            (Civil Court) เพื่อขอเปลี่ยนแปลงเพศและชื่อแรกของผู้เยาวให้สอดคล้องกับอัตลักษณ

            ทางเพศตามเจตจ�านงของผู้เยาว (มาตรา 7(1))  ซึ่งกรณีจะต่างกับการยื่นค�าร้องของ

            บุคคลผู้บรรลุนิติภาวะที่สามารถกระท�าได้โดยการยื่นค�าร้องขอผ่านกระบวนการพิจารณา

            ทางปกครอง (administrative process) กล่าวได้ว่า การอนุญาตของศาลแพ่งถือเป็น
            เงื่อนไขส�าคัญและเป็นเงื่อนไขบังคับที่จะต้องกระท�าก่อน (pre-condition) 153


                   จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การเข้ามามีส่วนร่วมของผู้แทนโดย
            ชอบธรรมจะเกิดขึ้นก่อนที่บุคคลนั้นจะมีอายุครบ 16 ปี นั่นคือ หากบุคคลนั้นมีอายุครบ

            16 ปีไปแล้วย่อมสามารถที่จะใช้สิทธิในการยื่นค�าร้องเพื่อขอรับรองเพศสภาพด้วยตนเอง
            ได้ ซึ่งในทางปฏิบัตินั้น หากบุคคลนั้นใช้สิทธิก่อนอายุครบ 16 ปี จะต้องด�าเนินการ

            โดยบิดามารดาหรือผู้ปกครองในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เยาว โดยจะต้องยื่นค�าร้องไปยัง
            ศาลแพ่ง (Civil Court) ซึ่งศาลจะสอบถามเพื่อประเมินยืนยันความสามารถของผู้เยาว

            ในการให้ความยินยอม จึงเห็นได้ว่า กระบวนการส�าหรับเด็กที่มีอายุต�่ากว่า 16 ปีนั้น

            153    Equality & Justice Alliance, Comparative Legal Review of Gender Recognition
            Laws Across the Commonwealth, Sister For Change, United Kingdom, 2019, p.39.
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154