Page 147 - kpiebook67026
P. 147

146     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



            ที่เกี่ยวข้องกับการระบุอัตลักษณของบุคคลได้ โดยกฎหมายฉบับนี้ได้ก�าหนดกระบวนการ
            รับรองอัตลักษณทางเพศสภาพของกลุ่มนอนไบนารี่ผ่านกระบวนการพิจารณาทางปกครอง

            โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอ�านาจในการออกบัตรประจ�าตัวประชาชน และหนังสือเดินทางภายใต้
            หน่วยงานที่ชื่อว่า National Registry of Persons (“ReNaPer”) ซึ่งปัจจุบันหน่วยงาน

            ดังกล่าวได้ให้การรับรองว่าบุคคลย่อมสามารถก�าหนดอัตลักษณทางเพศตามเจตจ�านง
            ของตนเองได้มากกว่าการระบุว่าตนเป็นเพียงเพศชาย (Male) หรือเพศหญิง (Female)


                   ตามกฎหมายว่าด้วยอัตลักษณทางเพศสภาพ ค.ศ. 2012 (Law No.26.743)
            และรัฐก�าหนดฉบับที่ 476/2021 (Decreto 476/2021; Decree 476/2021) ได้วาง

            หลักเกณฑว่า บุคคลย่อมมีสิทธิยื่นค�าร้องเพื่อระบุเพศสภาพของตนในบัตรประจ�าตัว
            ประชาชนหรือหนังสือเดินทาง โดยใช้ F เพื่อสื่อถึงการเป็นเพศหญิง (Feminine)

            ใช้ M เพื่อสื่อถึงการเป็นเพศชาย (Masculine) หรือ X เพื่อสื่อถึงการเป็นกลุ่ม
            นอนไบนารี่รวมถึงกลุ่มบุคคลที่ไม่ประสงคจะระบุว่าตนมีอัตลักษณเป็นเพศชาย

                       148
            หรือหญิงก็ได้  กล่าวได้ว่ารัฐก�าหนดฉบับนี้ได้ให้การรับรองสิทธิแก่กลุ่มนอนไบนารี่
            ในการก�าหนดเพศสภาพตามเจตจ�านงของตนเองว่าเป็น “สิทธิในการก�าหนดอัตลักษณ

            ของบุคคล” และมีในฐานะเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง 149

                   อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่จะมีการตรารัฐก�าหนดฉบับที่ 476/2021 (Decreto

            476/2021; Decree 476/2021) นั้น ในปีค.ศ. 2012 กฎหมายว่าด้วยอัตลักษณ
            ทางเพศสภาพ ค.ศ. 2012 ในมาตรา 2 มาตรา 3 และมาตรา 13 ก็ได้ให้การรับรอง

            อัตลักษณทางเพศสภาพของบุคคลมากกว่าการระบุเพศตามระบบทวิเพศที่มีเพียง
            เพศชายและเพศหญิง แต่ทว่าภายหลังจากที่มีการก�าหนดรัฐก�าหนดฉบับนี้ กลุ่ม

            นอนไบนารี่ที่มีความประสงคจะใช้สิทธิตามรัฐก�าหนดดังกล่าวกลับพบอุปสรรคต่อ



            148    “X” (“non-binary, indeterminate, unspecified, indefinite, not reported,
            self-perceived (…) or another meaning, which the person who does not feel included
            in the masculine / feminine binomial may identify with”) in Article 4 of Decree N°
            4762021/.
            149    FELGTBI+, Right to Self-determination of Gender: Comparative law study
            on five questions related to gender identity, p.29, Access July 20, 2023, file:///
            C:/Users/Dell/Downloads/RIGHT_TO_SELF_DETERMINATION_OF_GENDER_COMPARA-
            TIVE_LAW_STUDY.pdf
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152