Page 17 - kpiebook67022
P. 17
16
ไม่สามารถบรรลุถึงความต้องการของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง แนวทางที่
ทุกฝ่ายต่างก็พึงพอใจทั้งคู่และมีความยั่งยืนคือแนวทางการร่วมมือ
(Thomas & Kilmann, 1974)
การใช้แนวทางใดในการจัดการความขัดแย้งของแต่ละบุคคล
ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหาและอำานาจที่คิดว่าตนเองมี
ถ้าคิดว่าตนเองมีอำานาจเหนือกว่า มักจะเอนเอียงไปใช้วิธีการที่ก้าวร้าว
ในทางกลับกันถ้าหากคิดว่าเขาเป็นฝ่ายเสียเปรียบก็จะเลือกใช้วิธีการอื่น
การแข่งขันเป็นการคำานึงถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเอง โดยไม่คำานึงถึง
ผลประโยชน์ของผู้อื่น เน้นเป้าหมายของตนเองมากกว่าความสัมพันธ์
การยอมตามเป็นการคำานึงถึงแต่ผลประโยชน์ของคนอื่น โดยไม่คำานึง
ถึงผลประโยชน์ของตนเอง เน้นที่ความห่วงใยต่อความสัมพันธ์มากกว่า
เป้าหมาย การหลีกหนีเป็นการไม่คำานึงถึงทั้งผลประโยชน์ของตนเอง
และผู้อื่น เป็นการหลบฉากและการถอนตัวออกจากประเด็นนั้น แสดงถึง
ความห่วงใยในเรื่องความสัมพันธ์และเป้าหมาย การประนีประนอม
เป็นการพยายามคำานึงถึงทั้งผลประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น เป็นการ
เดินสายกลางระหว่างทั้งเป้าหมายและความสัมพันธ์ หลักสำาคัญคือ
การหาแนวกลางๆ หรือการแบ่งครึ่งหารสองของผลประโยชน์ สำาหรับ
การร่วมมือเป็นการคำานึงถึงทั้งผลประโยชน์ของผู้อื่นและตนเอง
อย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน เป็นการบูรณาการหรือการแก้ปัญหาโดยให้
ความสำาคัญกับทั้งเป้าหมายและความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามทางเลือก
ในการจัดการความขัดแย้งสามารถใช้ผสมผสานกันได้ ไม่ได้หมายความ
ว่าต้องใช้ทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งเท่านั้น โปรดดูภาพที่ 1