Page 16 - kpiebook67022
P. 16
15
แนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
(Course of Fundamental Conflict Management by Peaceful Means)
ความตึงเครียดที่เห็นเด่นชัด แต่อาจจะยังไม่จำาเป็นต้องมีการโต้เถียงกัน
การเจรจา หรือการแก้ปัญหาเกิดขึ้น
• ความขัดแย้งที่ปรากฏชัดเจน (Manifest conflict)
หมายถึง สถานการณ์ที่คู่กรณีต่างก็ได้เข้าไปมีส่วนรู้เห็นใน
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว จนเจอกับสภาพ ความขัดแย้งที่ไม่มี
ทางออก
พลวัตความขัดแย้งทั้ง 3 ระยะ มีประโยชน์นำาไปใช้ในการจัดการ
ความขัดแย้ง ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การป้องกัน (Prevention) การแก้ไข
(Resolution) และการเยียวยา (Reconciliation) ความขัดแย้ง ดังนั้น
การจัดการความขัดแย้ง จึงควรคำานึงถึงพลวัตของความขัดแย้งว่าอยู่ใน
ขั้นตอนใดหรืออยู่ในระดับใดเพื่อจัดการความขัดแย้งได้อย่างถูกต้อง
รูปแบบวิธีการที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้ง
รูปแบบวิธีการที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้งมีหลากหลาย
วิธี อาจสรุปได้ว่ามี 5 แนวทางคือ 1. แข่งขัน (Compete) 2. ยอมตาม
(Compliance your way) 3. หลีกหนี (Avoid no way) 4. ประนีประนอม
(Compromise) และ 5. ร่วมมือ (Cooperation) ซึ่งการเลือกใช้แต่ละ
แนวทางส่งผลที่แตกต่างกันและมีความยั่งยืนในการจัดการปัญหา
ที่แตกต่างกัน การเลือกใช้แนวทางในการแข่งขัน หลีกหนี ยอมตาม
และประนีประนอม มิใช่แนวทางที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา และยัง