Page 13 - kpiebook67022
P. 13
12
ประเภท/เหตุปัจจัยของความขัดแย้ง
การแบ่งประเภทของความขัดแย้งสามารถแบ่งได้หลายประเภท
ในงานชิ้นนี้แบ่งความขัดแย้งเป็น ความขัดแย้งภายในและความขัดแย้ง
ภายนอก ประกอบด้วย
1) ความขัดแย้งภายใน (Internal conflict) ประเด็น
สำาคัญคือเป็นเรื่องของจิตใจของบุคคล หมายถึง ภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้น
ภายในใจของแต่ละบุคคลที่อยู่ในครอบครัว องค์กร หรือสังคม ซึ่งเกิด
ความแปลกแยกในตัวเอง หรือแปลกแยกจากคนอื่น หรือองค์กรอื่นๆ
ความขัดแย้งเกิดจากปัจจัยภายในคือ ความอยากได้ อยากเป็นใหญ่
ใจแคบ รวมถึง โลภะ โทสะและโมหะ (โลภ โกรธ หลง) (หรรษา
ธรรมหาโส, 2544)
2) ความขัดแย้งภายนอก (External conflict) หมายถึง
ภาวะของความขัดแย้งที่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลขัดกัน ไม่ลงรอยกัน
และไม่เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ชาติพันธุ์
ข้อมูล ผลประโยชน์ และโครงสร้างทางองค์กรและสังคมที่แตกต่างกัน
ความสัมพันธ์และค่านิยม โดยสามารถอธิบายได้ ดังนี้ (Moore, 1984)
(1) ความขัดแย้งด้านข้อมูล (Data conflict) ปัญหา
พื้นฐานของความขัดแย้งอาจจะเกิดจากข้อมูลน้อยไป
ข้อมูลคนละชุด การแปรผลผิดพลาด การวิเคราะห์ออกมา
ด้วยความเห็นต่างกัน หรือแม้แต่ปัญหาความแตกต่าง