Page 11 - kpiebook67022
P. 11
10
1. ความขัดแย้ง
เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้งหลายคนจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่อยาก
ให้เกิดขึ้น แต่ความจริงแล้วความขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ที่อยู่คู่กับมนุษย์ไม่ว่าจะในระดับบุคคลหรือในระดับสังคม นักวิชาการด้าน
การจัดการความขัดแย้งหลายท่านเห็นว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
เสมอและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
ความขัดแย้งบางครั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในการได้แนวคิดใหม่ๆ และ
การเปลี่ยนแปลงใน ทางที่ดีขึ้นได้ แต่บางครั้งถ้าจัดการไม่ดีก็สามารถ
ทำาให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้เช่นกัน สาเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
อธิบายได้ด้วยหลายตัวแปร เช่น ตัวแปรสภาพภูมิศาสตร์อันก่อให้เกิด
ข้อพิพาทด้านพรมแดนระหว่างประเทศ ตัวแปรทางสังคมและเศรษฐกิจ
ทำาให้เกิดการช่วงชิงทรัพยากร ตัวแปรทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดปัญหา
เชื้อชาติ เป็นต้น
ความหมายของความขัดแย้ง
ความหมายความขัดแย้ง คือ ปรากฏการณ์ ที่มีบุคคลตั้งแต่
สองคนหรือสองกลุ่มขึ้นไป ที่มีเป้าหมายหรือจุดยืนที่เข้ากันไม่ได้
อีกทั้ง ทั้งสองฝ่ายมิได้อยู่นิ่งเฉยแต่มีการแข่งขันเพื่อให้ได้ชัยชนะ การเกิด
ความขัดแย้งขึ้นได้จึงต้องมีทั้ง 3 องค์ประกอบ เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ
1. มีคนสองคนหรือสองกลุ่มขึ้นไป 2. มีเป้าหมายที่เข้ากันไม่ได้
(Incompatible Goal) และ 3.มีการแข่งขันหรือต่อสู้เอาชนะกัน