Page 12 - kpiebook67022
P. 12
11
แนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
(Course of Fundamental Conflict Management by Peaceful Means)
หากขาดองค์ประกอบใด เช่น ไม่มีการแข่งขันหรือต่อสู้เอาชนะ
ปรากฏการณ์นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นต่าง (Differences) (บรรพต
ต้นธีรวงศ์, 2558, น. 180) แม้ว่าความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเป็นปกติ
ในชีวิตประจำาวันของเรา แต่ความขัดแย้งที่ไม่ปกติคือความขัดแย้งที่
ยืดเยื้อเรื้อรัง Edward Azar (1990) เห็นว่า การจัดการกับความขัดแย้งที่
ยืดเยื้อเรื้อรัง (Protracted conflicts) ที่เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน
ไม่สามารถใช้การจัดการความขัดแย้งทางการทหารที่เน้นยุติความขัดแย้ง
ชั่วคราว โดยปราศจากการเข้าไปจัดการกับความต้องการขั้นพื้นฐานของ
มนุษย์ เช่น ความรู้สึกปลอดภัย อัตลักษณ์ การมีส่วนร่วม ความเท่าเทียม
กัน เป็นต้น
นอกจากนี้ความขัดแย้งยังสามารถอธิบายได้ใน 2 ความหมาย
หลัก กล่าวคือ 1. ความหมายในเชิงบวก และ 2. ความหมายในเชิงลบ
ซึ่งการให้นิยามของความขัดแย้ง โดยส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มเป็นไป
ในเชิงลบ ซึ่งหมายถึง ความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดผลเสีย และบรรยากาศ
ที่ไม่ดีต่อตัวเอง องค์กรและสังคม อันเป็นการสะท้อนรูปลักษณ์ของ
ความขัดแย้งออกมาในมิติของความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการด่ากัน
การทะเลาะวิวาท ทำาร้ายร่างกาย และทำาสงครามประหัตประหารซึ่งกัน
และกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนักวิชาการบางท่าน ได้ให้ความหมาย
ในเชิงบวก ซึ่งหมายถึง ความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดในเชิงสร้างสรรค์ และ
ก่อให้เกิดผลดีต่อตัวเอง องค์กร และสังคมทั้งในแง่ของทัศนคติ และ
พฤติกรรม ในบางคราวเมื่อเกิดความขัดแย้งแล้ว ก็สามารถที่จะหาทางออก
ในเชิงสมานฉันท์ (ชลากร เทียนส่องใจ, 2553, น. 18)