Page 15 - kpiebook67022
P. 15

14


        พลวัตของความขัดแย้ง (Conflict dynamic)

                 ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลง
        ไปตามสถานการณ์ มีพัฒนาการและเป็นพลวัต กล่าวคือมีความขัดแย้ง

        เกิดขึ้นเป็นระยะต่างๆ เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นผู้เขียนจึงใช้ตัวย่อว่า
        LEM Conflict ประกอบด้วย


                 •  ความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ (Latent conflict)

                 สถานการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความขัดแย้งอย่างยิ่ง แต่ยังไม่มี

        ลักษณะความขัดแย้งปรากฏเด่นชัด (บรรพต ต้นธีรวงศ์, 2558, น. 182)
        แม้ต้นตอของความขัดแย้งนั้น ปรากฏว่าคู่กรณีอาจไม่ได้ตระหนักถึง

        ความขัดแย้งที่คุกรุ่นอยู่ ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ที่กฎหมายฉบับหนึ่ง
        หรือข้อกำาหนดภายใต้สภาวการณ์หนึ่งอาจก่อให้เกิดผลทางด้านลบตามมา
        ต่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่งหรือมากกว่า ในการเจรจาไกล่เกลี่ยหรือการทำาสัญญา

        ระหว่างกัน หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือสถานการณ์ที่อาจเกิดความขัดแย้ง
        ที่แฝงเร้นอยู่ คือ การเสนอความคิดเห็น การตัดสินใจ หรือการกำาหนด

        นโยบายที่ดูจะไม่เป็นที่นิยม แต่ก็ยังไม่มีการประกาศใช้ อีกตัวอย่างของ
        ความขัดแย้งทางโครงสร้างในสภาพที่สังคมไม่มีความเท่าเทียมกันโดยที่
        คนจนที่ไม่มีอานาจต่อรองในสังคม จำาต้องยอมรับหรือยอมจำานนต่อ

        การถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมมาเป็นระยะเวลาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

                 •  ความขัดแย้งที่ปรากฏขึ้น (Emerging conflict)


                 หมายถึง สถานการณ์ที่คู่กรณีหรือประเด็นที่คู่กรณีมีส่วน
        เกี่ยวข้องมองเห็นและรับรู้ว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้ว โดยอาจมี
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20