Page 467 - kpiebook67020
P. 467
466 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ไปเป็นปัจจัยน�าเข้าของความยุติธรรมต้นทางได้ ดังผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มกล่าวว่า
ศาลถือว่าอยู่ปลายทาง เพราะพิจารณาในเชิงการแก้ไขเยียวยา แต่กระบวนการปลายน�้า
บางครั้งก็ย้อนมาให้ความเป็นธรรมในต้นน�้าได้ ยกตัวอย่างเช่น คนขาวที่ช่วยเหลือ
คนอะบอริจินในศาลเพื่อให้มีสิทธิของชนพื้นเมือง ศาลก็รับรองสิทธิคนพื้นเมือง
หรือกรณีการตัดไม้ในพื้นที่หนึ่งแต่มีคนฟ้องศาลเพื่อไม่ให้ตัด โดยเรียกร้องว่า
ลูกของเขาต้องมีสิทธิได้เห็นพื้นที่ป่าแห่งนี้ กรณีนี้ท�าให้ทั้งโลกหวั่นไหวกับค�าพิพากษา
ซี่งมีผลต่อ right of the unborn child ซึ่งเป็นสิทธิของคนรุ่นหลัง (ผู้เข้าร่วม
สนทนากลุ่ม [สนทนากลุ่ม], 29 กันยายน 2564) อย่างไรก็ดี ผู้ให้ข้อมูลให้ข้อสังเกตว่า
บทบาทศาลจะส่งผลต่อความยุติธรรมที่ต้นน�้าได้เพียงใดขึ้นกับระบบศาลของ
แต่ละประเทศ ซึ่งระบบศาลไทยอาจท�าได้ยากกว่าเพราะระบบศาลในประเทศไทย
ไม่ใช่ระบบคอมมอนลอว์ (Common law)
อย่างไรก็ดี แม้ในเชิงหลักการทั่วไป ค�าตัดสินของศาลอาจมีผลเป็นบรรทัดฐาน
ให้กับกรณีความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ แต่การปล่อยให้เกิดความอยุติธรรม
ตั้งแต่ต้นทางแล้วปล่อยไปสู่ปลายทางถึงชั้นศาลดูจะสร้างวิกฤตและภาระมากกว่า
ดังผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มบางท่านกล่าวว่าโครงการที่ไม่ค�านึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็น
กระบวนการที่ไม่ชอบ ดังนั้นต้นน�้าจะต้องป้องกันไม่ให้โครงการเหล่านี้เกิดขึ้น
เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องฟ้องร้องมาที่ศาล ต้นน�้าถือเป็นเรื่องส�าคัญที่ต้องท�าควบคู่ไปกับ
การปฏิรูปศาล ตัวอย่างกรณีโลกร้อน ที่อุทยานฟ้องร้องชาวบ้านเรื่องโลกร้อน เป็นผลให้
สุดท้ายชุมชนไม่มีที่อยู่ ถูกจับและสู้คดียาวนานและติดคุกแม้จะอยู่ในพื้นที่นั้น
มานานแล้วก็ตาม ดังนั้น ศาลควรปรับบทบาทในการท�าหน้าที่สืบเสาะหาความจริงด้วย
ศาลควรมีการศึกษาให้มากขึ้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม หากศาลยังอยู่ในวิธีแบบเดิม
ก็จะเพียงน�ากฎหมายมาพิจารณาแล้วตัดสินว่าประชาชนไม่มีบทบาทในทรัพยากร
(ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม [สนทนากลุ่ม], 29 กันยายน 2564)