Page 269 - kpiebook67020
P. 269

268  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




               กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (restorative justice programmes)

        ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อว่า คู่กรณีหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมควรมี
        ส่วนร่วมเชิงรุกในการเยียวยาความเสียหาย การบรรเทาความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น
        รวมทั้งมีส่วนร่วมในการป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดซ�้า แนวทางความยุติธรรม

        เชิงสมานฉันท์ถือว่าเป็นทั้งเครื่องมือและวิธีการที่จะส่งเสริมขันติธรรมและสร้าง

        การมีส่วนร่วม การเปิดเผยความจริงเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นการแสดงออกโดย
        สันติและแก้ปัญหาความขัดแย้ง ตลอดจนช่วยเสริมสร้างการเคารพความหลากหลาย
        และส่งเสริมการปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชน


               กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ คือ แนวทางที่เสนอทางเลือกใหม่ ๆ

        สู่ความยุติธรรมแก่ผู้กระท�าความผิด ผู้เสียหาย และชุมชน กระบวนการนี้ส่งเสริม
        การเข้าร่วมของผู้เสียหายในการแก้ไขสถานการณ์ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ที่ยอมรับผิด

        ต่อความเสียหายที่เกิดจากการกระท�าของตัวเองได้ส�านึกและแสดงความรับผิดชอบ
        ต่อผู้เสียหาย กระบวนการนี้อยู่บนฐานที่ว่า พฤติกรรมอาชญากรรมนั้นไม่ได้เพียงแต่

        เป็นการละเมิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายและสร้างความเสียหายแก่ผู้เสีย
        และชุมชนอีกด้วย


               โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้โดยผู้กระท�าผิดแสดงความรับผิดชอบ
        ต่อสิ่งที่ได้กระท�าลงไป โดยต้องสูญเสียอะไรบางอย่างไปกับสิ่งที่ได้กระท�าลงไป ซึ่งอาจใช้

        เวลานานนับเจเนอเรชั่น และอาจต้องมีกระบวนการกดดันจากบุคคลที่สามเพื่อให้
        เกิดความรับผิดชอบ การแสดงความรับผิดชอบ สามารถกระท�าได้ในรูปแบบต่าง ๆ

        เช่น การจัดเวทีน�าเสนอเรื่องราวสมานฉันท์ (Reconciliatory Events) ต่อสาธารณะ
        สัญลักษณ์ที่แสดงการขอโทษออกมาทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ การเยี่ยมสถานที่

        การออกกฎหมาย หรือ การจ่ายค่าตอบแทน รวมถึงการแสดงความรู้สึก การเข้าใจ
   264   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274