Page 266 - kpiebook67020
P. 266
265
2) การบริหารจัดการความขัดแย้ง (conflict management) เป็น
การจัดการบริหารความแตกต่างและความทุกข์ทนในทางที่เป็นบวก
และสร้างสรรค์ มากกว่าการใช้วิธีการเคลื่อนย้ายความขัดแย้ง
โดยการใช้การตั้งค�าถามอย่างไรที่สะท้อนความจริงที่เป็นไปได้
การใช้กระบวนการร่วม (cooperative process) อย่างไรให้ออกจาก
ขั้วความเป็นศัตรู การออกแบบระบบความส�าเร็จร่วมกันที่เป็นไปได้
(Bloomfield and Reilly 1998, 18)
3) การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง (conflict transformation) เป็น
การมองความขัดแย้งที่เกิดขึ้นร่วมสมัยว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น
เป็นความขัดแย้งที่มีความซับซ้อนมีรูปแบบที่มีผู้คนหลากหลายฝ่าย
ในวัฏจักรความขัดแย้งและความขัดแย้งอาจจะลงรากฝังลึกลงไป
ในชั้นโครงสร้างและวัฒนธรรมของสังคม และต้องการระยะเวลา
ในการเปลี่ยนผ่านยาวนาน (long- term process) เพื่อสร้างสรรค์
สันติภาพร่วมกัน เป็นลักษณะการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนของ
สังคม และตระหนักถึงการเปลี่ยนผ่านทีละเล็กละน้อย อาจจะมากกว่า
กระบวนการเจรจาจากภายนอกหรือภายในแต่ในทุก ๆ ภาคส่วน
ต้องเห็นภาพร่วมกันของความขัดแย้งรุนแรงเพื่อเปลี่ยนเป็นสันติภาพ
ร่วมกัน การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งต้องมีจินตนาการที่ทันท่วงที,
การรวมทุกภาคส่วน , การเคารพกันและกัน และสนับสนุนเรื่อง
ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางวัฒนธรรมจากภายใน ลักษณะนี้
เกี่ยวกับการรวมมุมมองใหม่ผ่านในสิ่งที่เราไม่เคยเห็นในเบื้องแรก
โดยได้รับจากประชาชนที่อยู่ภายใน (insider) และประชาชนภายนอก
(outsider) ซึ่งเป็นที่ที่เราตระหนักได้ว่ากรเปลี่ยนผ่านนั้นต้องใช้
ระยะเวลา (Lederach,1995)