Page 271 - kpiebook67020
P. 271
270 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
ซึ่งมีการศึกษาวิจัยในการบังคับใช้กฎหมาย 3 ฉบับนี้
กรกฎ ทองขะโชค (2557) กล่าวถึง การบังคับใช้กฎหมายใน 3 จังหวัด
ชายแดนใต้ ว่ากฎหมายพิเศษดังกล่าว ก็ไม่อาจท�าให้ความรุนแรงในสามจังหวัด
ชายแดนใต้ลดลงแต่อย่างใด กับตรงกันข้ามกลายเป็นการสร้างเงื่อนไข ท�าให้เกิด
ความไม่ไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชน และโดยเฉพาะภาคประชาชนยังมองว่าเป็น
การส่งเสริมการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้มีอ�านาจ
หน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง
ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระท�า
ผิดกฎหมาย หากเป็นการกระท�าที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติและไม่เกินสมควรแก่เหตุ
หรือไม่เกินกว่ากรณีจ�าเป็นตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
กัลยา แซ่อั้ง (2563) พบว่า การใช้กฎหมายทั้ง 3 ฉบับในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
รวมทั้งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมาตรการระงับสิทธิเสรีภาพยังไม่สอดคล้อง
กับหลักนิติธรรมและมาตรฐานระหว่างประเทศ โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมายตาม
กรอบพันธะกรณีต่างประเทศและรวมถึงการปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับ
หลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษชน
พบว่า มีเนื้อหาของบทบัญญัติในลักษณะให้อ�านาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ในระดับ
ที่ลดน้อยลงไปกว่า ทั้งนี้ กลไกของรัฐและการใช้อ�านาจรัฐทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่
เข้าข่ายส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์และสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ในพื้นที่ ในขณะที่ภาคประชาสังคมที่ท�างานส่งเสริมสันติภาพในพื้นที่และผลักดัน
การพัฒนาความยุติธรรมได้เติบโตขึ้นอย่างมาก การท�างานขององค์กรภาคประชาสังคม
มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายมากขึ้น ที่โดดเด่นคือการเกิดขึ้นของสภาประชาสังคม