Page 270 - kpiebook67020
P. 270

269




           รับรู้ถึงความเจ็บปวด ความโกรธของคู่กรณี สามารถส่งผลกระทบด้านบวกต่อคู่กรณี

           และน�าไปสู่การปรับปรุงความสัมพันธ์ต่อกันได้ การขอโทษ เช่น เยอรมันแสดง
           ความรับผิดชอบต่อการกระท�าในสงครามโลก ครั้งที่ 2 และแสดงความเสียใจต่อ
           การทุกข์ทรมานต่อชาวเชค ขณะที่สาธารณรัฐเชคก็ได้แสดงความเสียใจต่อการขับไล่

           ชาวเยอรมันออกจากดินแดนของสาธารณรัฐเชค


                  เมื่อการกระท�าผิดได้ถูกจดจ�าไว้ในความทรงจ�าของผู้คน ผู้ถูกกระท�าก็อาจจะ
           ให้อภัยกับอดีตที่เคยเกิดขึ้นได้หรือเมื่อคนที่กระท�าผิดมีอายุมากขึ้น มองเห็นโลก

           เปลี่ยนแปลง พวกเขาสามารถที่จะขอโทษกับการกระท�าที่ได้กระท�าไว้ เช่น ประธานาธิบดี
           ชิลี Patricio Aylwin ออกทีวีขอโทษต่อผู้สูญเสียและญาติที่ถูกกระท�าจาก ระบอบ

           ของปิโนเช่ต์ ใน ค.ศ.2000 หรือตัวอย่างของประธานาธิบดีกัวเตมาลา อัลฟองโซ
           ที่ยอมรับผิดและรับผิดชอบต่อคนที่ตายนับหมื่นคน และจะไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้

           เกิดขึ้นอีก การขอโทษเช่นนี้เป็นพลังส�าคัญในการทิ้งอดีตไว้ข้างหลัง และละทิ้ง
           การแก้แค้นได้ (Rigby, 2001)


                  4.1.2 วิเคราะห์รากเหง้าความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรม
           ในสนับสนุนนวิกฤตการณ์กรือแซะ-ตากใบ และน�ามาสู่ปัญหาความไม่สงบ
           ในปัจจุบัน

                  1) สาเหตุหลักของความเหลื่อมล�้าของกระบวนการยุติธรรมในจังหวัด
           ชายแดนใต้


                  สาเหตุหลักของความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรมของพื้นที่พิเศษ
           รัฐยังคงใช้กฎหมายความมั่นคง เพื่อปิดค�าถามเรื่องความมั่นคงในพื้นที่พิเศษ

           อย่างจังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะ กฎหมาย 3 ฉบับ คือพระราชบัญญัติกฎอัยการ
           ศึก พ.ศ. 2457 พระราชก�าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275