Page 265 - kpiebook67020
P. 265

264  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต



                เมื่อเกิดความขัดแย้งขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว มีทางเลือก
        ให้กับมนุษย์อยู่ 2 ทางหลักคือ 1) การเลือกใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ไขกับปัญหา

        ความขัดแย้งรุนแรงนั้น 2) การเลือกใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงนั้น

        และการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งรุนแรงสู่สังคมสันติสุข จึงเป็นสิ่งที่ส�าคัญและ
        จ�าเป็นมากในการอยู่ร่วมกันต่อไปในสังคม สภาพการณ์ดังกล่าวจ�าเป็นต้องมี
        “กระบวนการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict Transformation)” ซึ่งเป็น

        การเน้นแก้ไขความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง สังคม

        และ/หรือเศรษฐกิจ ตลอดจนทัศนคติและความสัมพันธ์ระหว่างคู่ขัดแย้งและ/หรือ
        กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในสังคม โดยมุ่งเน้นในการขจัดเงื่อนไขของความขัดแย้งและสร้าง
        สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเพื่อน�าไปสู่การเกิดสันติสุขที่ยั่งยืน

        ในสังคม (Miall et al., 2011)


                นักสันติวิธีและนักจัดการความขัดแย้งต้องศึกษาและบริหารความขัดแย้ง
        หรือความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดขึ้น จ�าเป็นต้องรู้จัก 3 ค�า ในการบริหารจัดการและ

        คลี่คลาย รวมถึงกระบวนการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้ง คือ

                  1)   การแก้ไขความขัดแย้งเฉพาะหน้า (conflict resolution) หมายถึง

                      การบริหารจัดการความขัดแย้งที่ใช้เวลาไม่นาน และแก้ไขปัญหา
                      ที่ไม่สลับซับซ้อน ความขัดแย้งสามารถบรรเทาเบาบางลงโดยไม่จ�าเป็น

                      ต้องใช้มรรควิธีมากมาย และอาจจะไม่จ�าเป็นต้องใช้ทรัพยากร
                      ในการบริหารจัดการมาก เพื่อให้คู่ขัดแย้งย้ายจากสถานะ การมี

                      ฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด (zero-sum game) โดยมี
                      จุดมุ่งหมายให้กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งมีประสิทธิภาพ และ

                      เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย (Azar and Burton 1986, 1)
   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270